ลักษณะของเรือนไทย (ภาคเหนือ)
เรือนไทยภาคเหนือ
รูปทรงจะมีความโดดเด่นเป็นแบบศิลปะล้านนา การปลูกเรือนพักอาศัยของคหบดีผู้มีอันจะกินทางภาคเหนือนิยมใช้สัญญลักษณ์ ”กาแล” ซึ่งเป็นไม้ป้านลมสลักลายอย่างงดงามไขว้กันติดที่ปลายยอดหลังคา ใต้ถุนของตัวเรือนค่อนข้างต่ำ เพราะอยู่บนดอยหรือทิวเขา น้ำท่วมไม่ถึง หลังคาส่วนใหญ่จะเป็นทรงหน้าจั่วคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่จะถ่างมากกว่า ที่ยอดของปั้นลมมักติดกาแล และด้วยสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นกว่า เรือนภาคเหนือจึงมีหน้าต่างบานเล็กและแคบ มักจะวางโอ่งน้ำพร้อมกระบวย หรือ มีเรือนน้ำให้ผู้สัญจรไปมาได้ดื่มกิน ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของเรือนล้านนา ครัวมักสร้างแยกจากเรือนนอน มีระเบียงหลังบ้านติดกับเรือนครัว การแบ่งอาณาเขตของบ้านจะใช้วิธีล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ขัดกันเป็นตาโปร่ง
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192281
http://www.google.co.th/imgres?hl=th&client=firefox-a&sa=X&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=zOjz65i4xjBgiM:&imgrefurl=http://www.photohobby.net/webboard/detail.php%3Ftopicid%3D19721&docid=M2aCR53u7FTBmM&imgurl=http://www.photohobby.net/webboard/post_photo/19721a33.jpg&w=1041&h=702&ei=Ap9-T8qUCofTrQeay_31BQ&zoom=1&iact=rc&dur=430&sig=114599146713435068892&page=6&tbnh=128&tbnw=184&start=55&ndsp=12&ved=1t:429,r:3,s:55,i:259&tx=75&ty=77
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น