1/13/2559

การตั้งเรือนภาคใต้

สถานที่สร้างเรือน

 

สถานที่สร้างเรือน

 

 

 

การเตรียมสถานที่สร้างเรือนจะต้องเป็นพื้นดินราบเสมอกันในบริเวณที่จะสร้างเรือน ส่วนนอกบริเวณดังกล่าวทางทิศเหนือต้องเป็นที่ดอนหรือเนิน และทางทิศใต้ต้องเป็นพื้นที่ต่ำกว่า อาจจะเป็นพื้นที่นาข้าวส่วนทิศตะวันออกต้องเป็นพื้นที่เสมอกันกับพื้นที่สร้างเรือน ถ้าเลือกพื้นที่ในลักษณะที่เช่นนี้เป็นที่สร้างเรือนแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อสร้างเรือนอยู่ ชีวิตครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การทำมาหากินจะมีโชคลาภ ได้ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนและฐานจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้าหาพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ เมื่อตัดสินใจสร้างเรือนในพื้นที่ใดให้หาไม้ไผ่อ่อนที่ยังไม่แตกกิ่งใบ ตัดเอาแต่ด้านโคนมีความยาว 1 วา โดยวัดความยาวด้วยข้อมือของผู้ที่จะสร้างเรือนจากปลายนิ้วมือขวาถึงปลายนิ้วมือซ้าย จากนั้นนำไปปักตรงใจกลางพื้นที่ที่จะสร้างในเวลาพลบค่ำให้ลึกลงในดิบประมาณครึ่งศอก โดยก่อนจะปักไม้ไผ่ดังกล่าวจะต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานในบท “อัลฟาตีฮะห์” 1 จบ แล้วอ่านคำสรรเสริญพระเกียรติพระบรมศาสดามูฮัมหมัด ที่เรียกว่า “เศาะลาวาด” อีก 3 จบ เสร็จแล้วไห้อธิษฐานขอให้พระอัลเลาะห์ได้โปรดประทานให้รู้อย่างหนึ่งอย่างใดว่า พื้นที่ที่ตั้งใจจะสร้างเรือนจะเป็นสิริมงคลหรืออัปมงคล เมื่ออธิษฐานจบจึงปักไม้ไผ่ทิ้งไว้จนรุ่งเช้า แล้วจึงนำไม้ไผ่มาวัดความยาวใหม่ หากปรากฏว่าไม้ไผ่ยาวกว่าเดิมถือว่าพื้นที่นี้ดี หากสั้นกว่าเดิมถือว่าไม่ดี ถ้าสร้างเรือนอยู่ครอบครัวจะแตกแยก การทำมาหากินไม่เจริญก้าวหน้าและมีอาถรรพ์ นอกจากนี้ ควรลีกเลี่ยงการปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ตอไม้ใหญ่หรือครอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปลูกเรือนใกล้ต้นไม้ใหญ่ ที่ดินสุสาน และพื้นที่รูปลิ้นมีนาขนาบทั้งสองข้าง

ทิศทางของเรือน

สำหรับทิศทางของเรือนชาวมุสลิมเชื่อกันว่าไม่ควรสร้างขวางดวงตะวัน เพราะจะทำให้ผู้อาศัยหลับนอนมีอนามัยไม่ดี ไม่มีความจีรังยั่งยืนทางที่ดีที่สุดคือหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก หลังบ้านอยู่ทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมสมัยก่อนนิยมสร้างเรือนหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ หรือทางถนนเพื่อการสัญจร ส่วนห้องนอนต้องอยู่ทางทิศตะวันตก บางบ้านนิยมสร้างเรือนข้าว โดยเชื่อว่าเรือนข้าวมีความสำคัญต่อครอบครัว เพราะเป็นเครื่องวัดฐานะความมั่นคงของเจ้าบ้านทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องทิศทางและทำเลที่ปลูกสร้างเรือนข้าวต่อมาโดยเชื่อกันว่าการปลูกเรือนข้าวไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ของเรือนอาศัย จะทำให้มีข้าวอุดมสมบูรณ์

ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน

 

การเลือกฤกษ์ยามในวันลงเสาเรือน เจ้าของบ้านจะต้องไปหาฤกษ์จากผู้รู้ เช่น โต๊ะอิหม่าม ซึ่งโดยมากวันที่ที่เป็นมงคลในการเริ่มลงเสาเรือนจะถือปฏิบัติกันหลายวิธี และวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปคือ การนับธาตุทั้งสี่อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีความหมายดังนี้คือ
ดิน” หมายถึงการทำงานเป็นไปอย่างช้า ๆ อาจจะพบปัญหาและอุปสรรค
น้ำ” หมายถึงการทำงานอยู่ในสภาพเยือกเย็นได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ไฟ” หมายถึงการทำงานอยู่ในสภาพอารมณ์ร้อน การทำงานมีปัญหาและการทะเลาะเบาะแว้งในเครือญาติหรือเพื่อนร่วมงาน
ลม” หมายถึงการทำงานเป็นไปอย่างรวมเร็ว ราบรื่น ไม่ค่อยมีปัญหา มีโชคลาภและอารมณ์เย็น การนับวันว่า วันไหนจะตกตรงกับธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะต้องนับตามวันทางจัทรคติดังต่อไปนี้
ดินน้ำไฟลม ขึ้น 1 ค่ำขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 3 ค่ำขึ้น 4 ค่ำ56789101112131415แรม 1 ค่ำแรม 2 ค่ำแรม 3 ค่ำแรม 4 ค่ำแรม 5 ค่ำ6789101112131415 วันที่นิยมสร้างเรือน ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี ส่วนวันที่ต้องห้าม คือ วันพุธ วันเสาร์ และไม่นิยมสร้างในวันศุกร์และวันพุธปลายเดือน ทั้งนี้การนับวันของชาวไทยมุสลิมจะนับเวลาขึ้นวันใหม่ตั้งแต่เวลา 18.01 น. ไปจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันต่อไป

นอกจากนี้การสร้างเรือนของชาวมุสลิมจะไม่นิยมสร้างในข้างแรมของแต่ละเดือน แต่จะนิยมสร้างข้างขึ้น สำหรับเดือนที่ถือว่ามีสิริมงคลในการเริ่มก่อสร้างเรือนมีเพียง 6 เดือนเท่านั้น ได้แก่

    เดือนซอฟาร์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภได้ทรัพย์สมบัติทวีคูณ
    เดือนยามาดิลอาวัล เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภ มีบริวารมากเป็นที่รู้จักในวงสังคม
    เดือนซะบัน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะได้รับยศศักดิ์และเกียรติเป็นที่เคารพนับถือจากสังคมทั่วไป
    เดือนรอมฎอน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภและความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
    เดือนซุลกีฮีเดาะห์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภอย่างมหาศาล ทรัพย์สมบัติที่ได้มาจะได้สืบทอดถึงลูกหลานด้วยพร้อมกันนี้ญาติพี่น้องและมิตรสหายจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้นอาหารการกินสมบูรณ์ตลอด

ส่วนเดือนอื่น ๆ อีก 6 เดือน ถือว่าเป็นเดือนไม่ดี ความหลีกเลี่ยงการลงเสาเรือน เพราะจะพบกับอุปสรรคต่าง ๆไม่จบสิ้น

การยกเสาเอก

โดยปกติบ้านหลังหนึ่งจะมี 6 เสา เวลาลงเสาจะลงหมดทั้งหมดทั้ง 6 เสาพร้อมกัน แต่ถือว่าเสากลางด้านทิศเหนือเป็นเสาเอก ซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เตียงซือรี” ก่อนลงเสาทั้ง 6 ต้องใช้เหรียญบาทติดไว้ที่โคนทุกเสา แต่ถ้าเจ้าบ้านเป็นคนฐานะดี อาจติดทองคำด้วย ทั้งนี้ด้วยความเชื่อว่าเมื่อติดเหรียญทองคำที่โคนเสาแล้ว จะได้นั่งบนกองเงินกองทอง ทำมาหากินดี มีเงินเหลือเก็บและฐานะดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเสาเอก เวลาลงเสาจะต้องเอาผ้าแดง 1 ผืน กล้ามะพร้าวที่มีใบ 3-4 ใบ จำนวน 1 ต้น รวงข้าวประมาณ 1 กำมือ ทองคำจำนวนหนึ่งโดยปกติใช้สร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง 1 เส้น ผูกไว้ที่เสาเอกเป็นเวลา 3 วันจึงเอาออก (ส่วนทองคำหลังจากลงเสาแล้วจะเอาออกทันทีเพราะกลัวขโมย)



การสร้างเรือน

เมื่อเจ้าของเรือนตกลงเลือกสถานที่สร้างได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนการสร้างเรือน โดยเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกับช่างไม้ในเรื่องขนาดแบบเรือน ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ เพราะเรือนที่สร้างจะไม่มีการเขียนแบบแปลน แต่อาศัยความชำนาญของช่างแต่ละคน โดยทั่วไปมีแบบและขั้นตอนการสร้างดังนี้

    ขนาดของตัวเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนเสา โดยมากนิยมสร้างเสา 6,9 และ 12 เสา สำหรับตัวเรือนแต่เดิมนิยมสร้างเป็นแบบเรือนแฝดมีชานกลางเชื่อมตัวเรือนหลักเข้ากับครัว แต่ต่อมานิยมสร้างเป็นตัวเรือนเดี่ยว ความกว้างของเรือนนิยมสร้าง 7 หรือ 10 ศอก แต่ไม่นิยมสร้างเรือน 8 ศอก โดยวัดจากช่วงข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ยกเว้นข้อศอกสุดท้ายจะกำมือ ส่วนบันไดนิยมความกว้างเป็นเลขคี่ เช่น 3, 5,7 จะไม่นิยมลงเลขคู่ เพราะถือว่าเป็นบันไดผี นำความอัปมงคลมาสู่ผู้อยู่อาศัย
    ความสูงของตัวเรือน นิยมสร้างโดยยกพื้นใต้ถุนสูงพอคนลอดได้ หรือไม่เกิน 2 เมตร เพื่อใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บของ ทำเป็นคอกสัตว์ที่นั่งเล่น และใช้เป็นที่ประกอบอาชีพเสริม เช่น สานเสื่อ ทำกรงนกเขาชวา ฯลฯ
    พื้นเรือน มักตีพื้นลดหลั่นกันตามประเภทการใช้สอย โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ จากบันไดสู่ชาน จากชานสู่ระเบียงใช้เป็นที่รับแขกจากระเบียงยกระดับสูงขึ้นเป็นพื้นห้องโถงใหญ่และห้องนอน ลดระดับลงมาเป็นพื้นครัว ถ้าครอบครัวฐานะดีจะใช้ไม้กระดานตีให้ห่าง เพื่อระบายลมและเทน้ำทิ้ง ถ้าครอบครัวฐานะยากจนจะใช้ไม้ไผ่ตีเป็นฟากจากครัวลดระดับลงมาเป็นชานซักล้างอยู่ติดกับบันไดหลังบ้าน
    การกั้นห้องและพื้นที่สำหรับละหมาดเรือนไทยมุสลิมจะกั้นห้องเฉพาะใช้นอนเท่านั้น นอกนั้นปล่อยเป็นพื้นที่โล่ง ใช้เป็นที่รับแขกและพิธีต่าง ๆ เช่น แต่งงาน งานเมาลิด ฯลฯ แต่เนื่องจากบัญญัติของศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมจะต้องทำละหมาดทุกวัน ๆ ละ 5 ครั้ง ทุกบ้านจึงต้องกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับทำละหมาดโดยใช้เกณฑ์ดังนี้คือ
    - ต้องมีฝาหรือผ้าม่านกั้นไม่ให้คนเดินผ่าน
    - ต้องอยู่บนเรือนหลัก
    - ต้องหันหน้าไปทางทัศตะวันตก

การสร้างตัวเรือนหลัก

เมื่อทำพิธียกเสาเอกแล้ว จะยกเสาที่เหลือขึ้น จากนั้นจึงติดตั้งโครงสร้างเรือน โดยประกอบโครงหลังคาบนดินก่อน แยกประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน ตีแปแล้วขึ้นมุงหลังคา ก่อนวางตงแล้วตีพื้น จากนั้นจึงตีราวฝา ติดตั้งวงกบประตู หน้าต่าง ตีฝา แล้วต่อระเบียงหน้าบ้าน ต่อครัวไปทางด้านหลัง เมื่อเสร็จตัวเรือนแล้วจึงติดตั้งบันไดหน้าบ้านและหลังบ้าน เมื่อสร้างเรือนเสร็จแล้วนิยมขุดบ่อน้ำไว้ใช้อุปโภค โดยนิยมขุดบ่อไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และสร้างที่อาบน้ำไว้บริเวณใกล้บ่อน้ำ เพราะแต่เดิมไม่นิยมสร้างส้วมหรือห้องน้ำไว้ในตัวเรือน 6

 

 

การประดับตกแต่งตัวเรือน

เรือนไทยมุสลิมดั้งเดิมจะไม่ทาสี แต่จะใช้น้ำมันไม้ทาเพื่อป้องกันปลวก ส่วนการประดับตกแต่งตัวเรือนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าบ้าน หากมีฐานะดีจะประดับตัวเรือนด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายประดับยอดจั่ว ช่องลม และเชิงชาย


ที่มา   http://www.baanjomyut.com/library/thaihouse/04.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น