1/14/2559

สถาปัตยกรรมภาคอีสาน

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคอีสาน 

 พระธาตุพนม



    พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์สำคัญของภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ชาวไทยในภาคอีสาน ตลอดจนบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนใกล้เคียง เรียก "พระเจดีย์" ว่า "พระธาตุ" เช่น พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเรณู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนม พระธาตุเหล่านี้ สร้างเป็นพระเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ฐานขึ้นไป และพระธาตุพนม มีอายุเก่าแก่และงดงามกว่าพระธาตุองค์อื่น ๆ

     พระธาตุพนม ประดิษฐานในวัดพระธาตุพนม ซึ่งมีทำเลเป็นโคกสูงกว่าบริเวณเดียวกัน เรียกว่า "ภูกำพร้า" บางแห่งเรียกว่า "ภูก่ำพร้า"  ในเขตอำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม หน้าวัดมีซุ้มประตูใหญ่ 1 แห่ง และประตูเล็ก 2 แห่ง บนประตูมีรูปโทณพราหมณ์ กำลังตวงพระบรมธาตุด้วยทะนานทอง  เมื่อเข้าไปภายในวัดจะถึงพระอุโบสถ และวิหารคต จึงถึงองค์พระธาตุพนมจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย

      พระธาตุพนมองค์นี้ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง  แต่ในตำนานแห่งพระธาตุพนม กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคละ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร  พระยาจุลนีพรหมทัต  พระยานันทเสน ช่วยกันสร้างขึ้น ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปเถระ เมื่อ พ.ศ. 8 และในตำนานเล่มเดียวกันนี้ได้เล่าถึงวิธีการสร้างไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมได้ก่อขึ้นด้วยแผ่นอิฐดินดิบ  และอนุญาตให้ชาวบ้านนำข้าวของเงินทอง มาบรรจุไว้ภายใน แล้วสุมไฟเผาทั้ง 4 ด้าน เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พออิฐสุกและเย็นลงดีแล้ว ก็ได้นำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ภายใน

 ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีหลายท่าน ลงความเห็นใกล้เคียงกันว่า พระธาตุพนมได้สร้าง เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และสร้างด้วยอิฐเผา ไม่อิฐดิบสลัีกเป็นลวดลายวิจิตรพิสดาร การก่อสร้างประณีตสวยงาม ได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ และทางบ้านเมืองของไทยเสมอมา ชาวท้องถิ่นเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ทุกคนช่วยกันรักษาดูแลอย่างดีที่สุด องค์พระธาตุพนมสูง 52 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11.25 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม

      11  สิงหาคม  พ.ศ.  2518  องค์พระธาตุพนม ซึ่งได้สร้างมานานถึง 1,200 ปี ก็ล้มลงท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก สร้างความเศร้าสลดใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ รัฐบาลจึงได้รีบเร่งจัดตั้งคณะกรรมการ บูรณะพระธาตุพนมให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว  ระหว่างการบูรณะ ได้มีการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ที่เชื่อกันว่าเป็นพระอุรังคธาตุ บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุด้วย  เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมสำเร็จเรียบร้อย สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จไปทรงยกยอดฉัตรทองคำ เมื่อวันที่ 22 ่มีนาคม พ.ศ. 2522 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ   ณ องค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นได้มีการสมโภชน์พระธาตุพนมอย่างมโหฬาร

     งานไหว้พระธาตุพนม ระหว่างวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 รวม 7 วัน 7 คืน มีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวลาว เดินทางไปร่วมงานบุญนี้อย่างเนืองแน่น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงถวายดอกไม้เงินทองมาเป็นพุทธบูชาทุกรัชกาล


ที่มา http://allknowledges.tripod.com/thatphanom.html

  วีดีโอ:

          พระธาตุพนม 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=l1k2qlsOTCg&feature=related

 

 

 

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 

 


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กม. ตามเส้นทางสายมิตรภาพ (โคราช-ขอนแก่น) อุทยานประวัติศาสตร์พิมายครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่ใหญ่โตและงดงามแห่งหนึ่ง คือ “ปราสาทหินพิมาย” เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูง

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพงชั้นใน มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลาน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ (รามาวตาร) และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลลักเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์องค์เล็กอีกสองหลัง องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวาสร้างด้วยหินทรายสีแดง เรียกว่า ปรางค์หินแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร

ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์

ถัดจากกำแพงชั้นนอกออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท

ที่มา  http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/nakornratchsima/data/place/hpk_pimai.htm



  วีดีโอ:

 ปราสาทหินพิมาย 

    


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_xmcJ_Lx2mo&feature=related 






อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์

 อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ชมศาสนบรรพตที่สวยงาม ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18



จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง



สำหรับการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งได้หลายทางด้วยกัน ที่นิยมกัน คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอ หนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กม. หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลาย มาศ รวมระยะทาง 384 กม.


ที่มา  http://www.thaisabuy.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87/

  วีดีโอ:

ปราสาทหินพนมรุ้ง 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=9KzItdeim8M

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น