ฐานรากของเรือนไทยภาคกลาง
แระ คือเป็นแผ่นไม้กลมหรือสี่เหลี่ยม หนาประมาณ 5 ถึง 7 ซม.วางลงก้นหลุมที่กระทุ้งดินแน่นดีแล้ว ใช้กับพื้นที่ที่ดินแน่นดีพอรับน้ำหนักเรือนได้
กงพัด คือไม้สี่เหลี่ยม ประมาณหน้าหก สอดทะลุช่องที่เจาะโคนเสา หรือใช้กงพัดคู่ประกบสองข้างเสาที่บากไว้รับ แล้ววางกงพัดลงบนงัว ซึ่งเป็นไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ถึง 10 นิ้ว เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ดิน
รอด คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหกหรือแปด หนาประมาณ 2 นิ้ว ที่สอดทะลุช่องที่เจาะเสา สำหรับรับไม้พื้น
พรึง คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหก หนา 1.5 - 2 นิ้วตีรัดรอบตัวเรือนโดยวางบนรอด
ไม้พื้น ไม้กระดานหนาประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว หน้ากว้างตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป วางบนรอดไปตามความยาวของเรือน
ฝัก มะขาม คือไม้ชิ้นเล็กๆยึดติดกับเสาเพื่อรับไม้พื้นช่วงที่ตรงกับแนวเสา ไม่สามารถพาดบนรอดได้เหมือนไม้แผ่นอื่น เนื่องจากมีรูปร่างงอให้รับกับเสากลมคล้ายฝักมะขาม จึงเรียกฝักมะขาม
โครง สร้างพื้นแบบ คาน - ตง - พื้น แบบปัจจุบันก็มีใช้ในเรือนไทยแบบประเพณีเหมือนกัน แต่ลักษณะที่แตกต่างคือ มีไม้ตุ๊กตาตั้งบนคานเพื่อรับตง เพราะตงมีขนาดเล็กกว่ารอด ต้องยกขึ้นให้มีระดับเท่ากัน
ที่มา http://suebpong.rmutl.ac.th/Vernweb/index1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น