1/14/2559

ประเภทเรือนพักอาศัย (ภาคอีสาน)

ประเภทของเรือนพักอาศัย 





เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

* ลักษณะชั่วคราว


สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

* ลักษณะกึ่งถาวร


คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน


* ลักษณะถาวร


เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมี ลมพัดจัดและ
อากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรง จั่วอย่างเรือนไทย
ภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุ ด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของ
อาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือน
ไทยภาคกลาง

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน

* ม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
* ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
* ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ


ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ



ที่มา   http://www.baanmaha.com/community/thread19790.html

ลักษณะเรือนไทย (ภาคเหนือ)

ลักษณะของเรือนไทย (ภาคเหนือ)



เรือนไทยภาคเหนือ
 
รูปทรงจะมีความโดดเด่นเป็นแบบศิลปะล้านนา          การปลูกเรือนพักอาศัยของคหบดีผู้มีอันจะกินทางภาคเหนือนิยมใช้สัญญลักษณ์    ”กาแล”     ซึ่งเป็นไม้ป้านลมสลักลายอย่างงดงามไขว้กันติดที่ปลายยอดหลังคา      ใต้ถุนของตัวเรือนค่อนข้างต่ำ    เพราะอยู่บนดอยหรือทิวเขา  น้ำท่วมไม่ถึง        หลังคาส่วนใหญ่จะเป็นทรงหน้าจั่วคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่จะถ่างมากกว่า   ที่ยอดของปั้นลมมักติดกาแล     และด้วยสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นกว่า   เรือนภาคเหนือจึงมีหน้าต่างบานเล็กและแคบ           มักจะวางโอ่งน้ำพร้อมกระบวย  หรือ มีเรือนน้ำให้ผู้สัญจรไปมาได้ดื่มกิน  ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของเรือนล้านนา          ครัวมักสร้างแยกจากเรือนนอน      มีระเบียงหลังบ้านติดกับเรือนครัว        การแบ่งอาณาเขตของบ้านจะใช้วิธีล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ขัดกันเป็นตาโปร่ง    






ที่มา  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192281
       http://www.google.co.th/imgres?hl=th&client=firefox-a&sa=X&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=zOjz65i4xjBgiM:&imgrefurl=http://www.photohobby.net/webboard/detail.php%3Ftopicid%3D19721&docid=M2aCR53u7FTBmM&imgurl=http://www.photohobby.net/webboard/post_photo/19721a33.jpg&w=1041&h=702&ei=Ap9-T8qUCofTrQeay_31BQ&zoom=1&iact=rc&dur=430&sig=114599146713435068892&page=6&tbnh=128&tbnw=184&start=55&ndsp=12&ved=1t:429,r:3,s:55,i:259&tx=75&ty=77

องค์ประกอบเรือนไทย(ภาคอีสาน)

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน

เอกลักษณ์บ้านเรือนไทยของคนอีสาน


1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

    1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
    1.2 ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
    1.3 ห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่า ห้องส่วม มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้

ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ

2. เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน

3. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก

4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน

5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด

6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ

ที่มา  http://www.learners.in.th/blogs/posts/334405

บ้านพักอาศัย (ภาคใต้)

ลักษณะบ้านพักอาศัยในภาคใต้

ลักษณะบ้านพักอาศัยในภาคใต้

จากการพิจารณาสภาพอาชีพ   และสภาพแวดล้อมทางสังคมแล้ว   จะเห็นได้ว่า   ความต้องการในการใช้พื้นที่ใช้สอยของประชาชนในภาคใต้   และความเป็นอยู่โดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับภาคอื่นๆ   คือ   มีการสร้างที่พักอาศัยแยกเป็นหลังๆ  เมื่อมีการขยายตัวของครอบครัวและแยกครัวออกมาจากเรือนนอน   โดยใช้นอกชานเป็นตัวเชื่อม   แต่ลักษณะนอกชานของภาคใต้มักจะแคบเพราะมีฝนตกชุกทำให้การเดินติดต่อระหว่างเรือนแต่ละหลังสะดวกขึ้น   บางที่ส่วนนอกชานจะก่ออิฐและถมดินขึ้นให้ได้ระดับกับระเบียงและใช้ปลูกต้นไม้ขนาดเล็ก   ส่วนลักษณะของหลังคาเรือนแบ่งได้เป็น   ๔  ลักษณะ   คือ
๑. หลังคาจั่ว
๒. หลังคาปั้นหยา
๓. หลังคาบรานอร์
๔. หลังคามนิลา
หลังคา   ๔   แบบนี้จะมีอยู่ทั่วไป   เพียงแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงกรวด หรือทรงเตี้ยก็ขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างในถิ่นนั้นๆ   และขึ้นอยู่กับวัสดุที่มุงหลังคา     ความลาดชันของหลังคาก็ไม่เท่ากัน   โดยเฉพาะส่วนที่เป็นครัวมักจะทำการออกแบบเป็นหลังคาตุกแตน

ลักษณะของเรือนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น

๑. เรือนเครื่องผูก
๒. เรือนเครื่องสับ
๓. เรือนก่ออิฐฉาบปูน
รูปแบบหลังคาเรือนทางภาคใต้ทั้ง   ๔   แบบ   จะเห็นได้ว่าทำการก่อสร้างเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ   คือ   สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี   โดยเฉพาะหลังคาปั้นหยาจะมีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคามากเป็นพิเศษ   เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตีนเสา  ( ตอม่อ )   ซึ่งมักจะก่ออิฐและฉาบปูน   ฉะนั้น   เมื่อต้องการจะย้ายบ้าน   ก็จะปลดกระเบื้องลง   ตีแกงแนงยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาด   แล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งที่ต้องการ   แล้วนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ก็สามารถเข้าไปอยู่ได้ทันที



ที่มา  http://www.paktho.ac.th/student/housethai/s_5_4.html
        http://www.google.co.th/imgres?num=10&um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&tbnid=AuT3ZeyBVttO2M:&imgrefurl=http://www.folktravel.com/archive/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B6%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1.html&docid=1sN_j0lnYYqAoM&imgurl=http://www.folktravel.com/wp-content/uploads/2008/12/scp12.jpg&w=400&h=300&ei=onx-T6brLIq8rAfB1dH3BQ&zoom=1&iact=hc&vpx=439&vpy=133&dur=5325&hovh=194&hovw=259&tx=134&ty=110&sig=114599146713435068892&sqi=2&page=1&tbnh=124&tbnw=166&start=0&ndsp=8&ved=1t:429,r:3,s:0,i:69

สถาปัตยกรรมภาคเหนือ

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคเหนือ

  

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง   ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้  พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น  อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ

ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/936-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C.html





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=zMN-L0myFAE&feature=endscreen


 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ดำเนินการภายใต้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน )ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ  ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 10 กิโลเมตร

ส่วนแสดงสัตว์ในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประกอบด้วย

-Jaguar Trail นักท่องเที่ยวสามารถเดินพักผ่อนได้ตามอัธยาศัยรอบทะเลสาบ (Swan Lake) ระยะทาง 1.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นจากอาคารลานนาวิลเลจด้านร้านอาหาร และสิ้นสุดที่ทางออกใกล้เรือนวารีกุญชร ตลอดระยะทางจะพบกับสัตว์ป่ามากกว่า 400 ตัว หรือ 50 ชนิด อาทิเช่น เสือขาว เสือจากัวร์ หนูยักษ์คาปิลาลา เสือลายเมฆ สมเสร็จบราซิล ม้าแคระ ฮิปโปแคระ ลิงอุรังอุตัง เสือดำ ลิงกระรอก หมีโคอาล่า แมวดาว นกกระเรียนหงอนพู่ นากใหญ่ขนเรียบ ลามา นกคลาสโซโนวี่ เสือปลา ฯลฯ
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ ประมาณ 200 ตัว นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ

-Savanna Safari ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบและสัตว์กินพืชที่มีถิ่นอาศัยในแถบทุ่งหญ้าซาวันนา ประมาณ 320 ตัว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.43 กม. อาทิเช่น เลียงผา กวางผา กระทิง แรดขาว ไฮยีน่า เสือชีต้า วีลด์เดอบีส ยีราฟ จามรี ละอง ละมั่ง กวางกาเซลล์ หมูป่า กวางบาราสิงกา ฯลฯ โดยระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะพบกับสถาปัตยกรรมจำลองเวียงกุมกาม ซึ่งสะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

-และในพื้นที่บริการจะเป็นหมู่บ้านล้านนา ซึ่งเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบแอฟริกาและไทยล้านนา ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ศูนย์รวมสินค้า OTOP ของที่ระลึก และเป็นถานีรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังส่วนแสดงสัตว์ และด้านข้างอาคารยังมีลานน้ำพุดนตรี (Fun Plaza) สำหรับเด็กๆ ได้เล่นน้ำขณะรอขึ้นรถ


ที่มา   http://www.unseentravel.com/locate/933-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ 10 เมตร เรียกว่า ดอยศรีจอมทอง หรือดอยจอมทอง ประเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/929-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html

 


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=mQFgo_1-m4c




 ที่มา http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&NR=1&v=0PyjVkahXYk



ที่มา http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&NR=1&v=jQaOk8PoHYE


 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร


เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัย

ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.

งานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก

ความเชื่อและวิธีการบูชา  เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญาดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/926-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html

วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย

วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า  จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล    สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา
        ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ  ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง
นี่เป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ของโบสถ์ของวัดร่องขุ่น ส่วนรายละเอียดจริงๆ นั้น อาจารย์บอกว่าจะสร้างทั้งหมด 9 หลัง แต่ละหลังมีความหมายเป็นคติธรรมทุกหลัง ผมหวังจะสร้างงานพุทธศิลป์ของแผ่นดินให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อให้คนทั้งโลกยอมรับ และปรารถนาจะมาชื่นชมให้ได้ จะถวายชีวิตสร้างจนลมหายใจสุดท้าย และได้สร้างลูกศิษย์รอรับช่วงต่ออีก 2 รุ่น หลังผมตาย คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 9 หลัง คงใช้เวลาทั้งหมด 60-70 ปีครับ"
        นอกจากจะชมความงดงามของพระอุโบสถแล้ว ยังสามารถเข้าชมผลงานของอาจารย์ และเลือกซื้อของที่ระลึกจากวัดร่องขุ่นได้อีกด้วย

ที่มา http://thai-tour.com/thai-tour/North/chiangrai/data/place/pic_wat-rongkhun.htm




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=i0X9VsNye04



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=AP9h6d1HwrU&feature=related

สถาปัตยกรรมภาคอีสาน

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคอีสาน 

 พระธาตุพนม



    พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์สำคัญของภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ชาวไทยในภาคอีสาน ตลอดจนบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนใกล้เคียง เรียก "พระเจดีย์" ว่า "พระธาตุ" เช่น พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเรณู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนม พระธาตุเหล่านี้ สร้างเป็นพระเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ฐานขึ้นไป และพระธาตุพนม มีอายุเก่าแก่และงดงามกว่าพระธาตุองค์อื่น ๆ

     พระธาตุพนม ประดิษฐานในวัดพระธาตุพนม ซึ่งมีทำเลเป็นโคกสูงกว่าบริเวณเดียวกัน เรียกว่า "ภูกำพร้า" บางแห่งเรียกว่า "ภูก่ำพร้า"  ในเขตอำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม หน้าวัดมีซุ้มประตูใหญ่ 1 แห่ง และประตูเล็ก 2 แห่ง บนประตูมีรูปโทณพราหมณ์ กำลังตวงพระบรมธาตุด้วยทะนานทอง  เมื่อเข้าไปภายในวัดจะถึงพระอุโบสถ และวิหารคต จึงถึงองค์พระธาตุพนมจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย

      พระธาตุพนมองค์นี้ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง  แต่ในตำนานแห่งพระธาตุพนม กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคละ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร  พระยาจุลนีพรหมทัต  พระยานันทเสน ช่วยกันสร้างขึ้น ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปเถระ เมื่อ พ.ศ. 8 และในตำนานเล่มเดียวกันนี้ได้เล่าถึงวิธีการสร้างไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมได้ก่อขึ้นด้วยแผ่นอิฐดินดิบ  และอนุญาตให้ชาวบ้านนำข้าวของเงินทอง มาบรรจุไว้ภายใน แล้วสุมไฟเผาทั้ง 4 ด้าน เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พออิฐสุกและเย็นลงดีแล้ว ก็ได้นำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ภายใน

 ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีหลายท่าน ลงความเห็นใกล้เคียงกันว่า พระธาตุพนมได้สร้าง เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และสร้างด้วยอิฐเผา ไม่อิฐดิบสลัีกเป็นลวดลายวิจิตรพิสดาร การก่อสร้างประณีตสวยงาม ได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ และทางบ้านเมืองของไทยเสมอมา ชาวท้องถิ่นเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ทุกคนช่วยกันรักษาดูแลอย่างดีที่สุด องค์พระธาตุพนมสูง 52 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11.25 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม

      11  สิงหาคม  พ.ศ.  2518  องค์พระธาตุพนม ซึ่งได้สร้างมานานถึง 1,200 ปี ก็ล้มลงท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก สร้างความเศร้าสลดใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ รัฐบาลจึงได้รีบเร่งจัดตั้งคณะกรรมการ บูรณะพระธาตุพนมให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว  ระหว่างการบูรณะ ได้มีการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ที่เชื่อกันว่าเป็นพระอุรังคธาตุ บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุด้วย  เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมสำเร็จเรียบร้อย สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จไปทรงยกยอดฉัตรทองคำ เมื่อวันที่ 22 ่มีนาคม พ.ศ. 2522 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ   ณ องค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นได้มีการสมโภชน์พระธาตุพนมอย่างมโหฬาร

     งานไหว้พระธาตุพนม ระหว่างวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 รวม 7 วัน 7 คืน มีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวลาว เดินทางไปร่วมงานบุญนี้อย่างเนืองแน่น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงถวายดอกไม้เงินทองมาเป็นพุทธบูชาทุกรัชกาล


ที่มา http://allknowledges.tripod.com/thatphanom.html

  วีดีโอ:

          พระธาตุพนม 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=l1k2qlsOTCg&feature=related

 

 

 

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 

 


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กม. ตามเส้นทางสายมิตรภาพ (โคราช-ขอนแก่น) อุทยานประวัติศาสตร์พิมายครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่ใหญ่โตและงดงามแห่งหนึ่ง คือ “ปราสาทหินพิมาย” เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูง

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพงชั้นใน มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลาน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ (รามาวตาร) และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลลักเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์องค์เล็กอีกสองหลัง องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวาสร้างด้วยหินทรายสีแดง เรียกว่า ปรางค์หินแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร

ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์

ถัดจากกำแพงชั้นนอกออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท

ที่มา  http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/nakornratchsima/data/place/hpk_pimai.htm



  วีดีโอ:

 ปราสาทหินพิมาย 

    


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_xmcJ_Lx2mo&feature=related 






อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์

 อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ชมศาสนบรรพตที่สวยงาม ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18



จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง



สำหรับการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งได้หลายทางด้วยกัน ที่นิยมกัน คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอ หนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กม. หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลาย มาศ รวมระยะทาง 384 กม.


ที่มา  http://www.thaisabuy.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87/

  วีดีโอ:

ปราสาทหินพนมรุ้ง 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=9KzItdeim8M

สถาปัตยกรรมภาคใต้

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคใต้


ยะลา - พระธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ 
แหล่งท่องเที่ยว:

 




พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ที่วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ในตัวเมืองเบตง โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขา มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร หรือขนาดความสูงเทียบเท่าตึก 13 ชั้น เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยในองค์มหาธาตุเจีดย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา




 ที่มา  http://travel.sanook.com/south/yarah/yarah_03878.php

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย



ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/169-%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข




พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ.1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/167-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82.html


ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว



ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมืองปัตตานีทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก


ที่มา   http://www.unseentravel.com/locate/160-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html


วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม


วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางหลวงสาย 42 (ปัตตานี-โคกโพธิ์) ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) ผ่านชุมชนเทศบาลนาประดู่และศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) ไปจนถึงทางแยกเพื่อเข้าสู่วัดช้างให้อีกประมาณ 700 เมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถาต่างๆ เล่ากันว่าท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คน เช่นครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดพายุ จนกระทั่งข้าวปลาและอาหารตลอดจนน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก หลวงปู่ทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำในบริเวณนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด และดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซีย แล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้ งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/159-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/158-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.html









1/13/2559

สถาปัตยกรรมภาคกลาง

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคกลาง



 1.วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัด ฉะเชิงเทรา
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=VyBWL-foaD4  

2.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

  ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=4zlfAANQydg


3.พระปฐมเจดีย์ จังหวัด นครปฐม
         

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=XvMlIPB7HVw

 4.อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=FXf2Sf01Ojg

 5.วัดม่วง จังหวัด อ่างทอง
 ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=u2NkrDRYvb0&feature=related  


6.พระนครคีรี จังหวัด เพชรบุรี


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=jI-R6Qtp6hc

การตั้งเรือนภาคใต้

สถานที่สร้างเรือน

 

สถานที่สร้างเรือน

 

 

 

การเตรียมสถานที่สร้างเรือนจะต้องเป็นพื้นดินราบเสมอกันในบริเวณที่จะสร้างเรือน ส่วนนอกบริเวณดังกล่าวทางทิศเหนือต้องเป็นที่ดอนหรือเนิน และทางทิศใต้ต้องเป็นพื้นที่ต่ำกว่า อาจจะเป็นพื้นที่นาข้าวส่วนทิศตะวันออกต้องเป็นพื้นที่เสมอกันกับพื้นที่สร้างเรือน ถ้าเลือกพื้นที่ในลักษณะที่เช่นนี้เป็นที่สร้างเรือนแล้ว เชื่อกันว่าเมื่อสร้างเรือนอยู่ ชีวิตครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข การทำมาหากินจะมีโชคลาภ ได้ทรัพย์สมบัติเพิ่มพูนและฐานจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้าหาพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ เมื่อตัดสินใจสร้างเรือนในพื้นที่ใดให้หาไม้ไผ่อ่อนที่ยังไม่แตกกิ่งใบ ตัดเอาแต่ด้านโคนมีความยาว 1 วา โดยวัดความยาวด้วยข้อมือของผู้ที่จะสร้างเรือนจากปลายนิ้วมือขวาถึงปลายนิ้วมือซ้าย จากนั้นนำไปปักตรงใจกลางพื้นที่ที่จะสร้างในเวลาพลบค่ำให้ลึกลงในดิบประมาณครึ่งศอก โดยก่อนจะปักไม้ไผ่ดังกล่าวจะต้องอ่านคัมภีร์อัลกุรอานในบท “อัลฟาตีฮะห์” 1 จบ แล้วอ่านคำสรรเสริญพระเกียรติพระบรมศาสดามูฮัมหมัด ที่เรียกว่า “เศาะลาวาด” อีก 3 จบ เสร็จแล้วไห้อธิษฐานขอให้พระอัลเลาะห์ได้โปรดประทานให้รู้อย่างหนึ่งอย่างใดว่า พื้นที่ที่ตั้งใจจะสร้างเรือนจะเป็นสิริมงคลหรืออัปมงคล เมื่ออธิษฐานจบจึงปักไม้ไผ่ทิ้งไว้จนรุ่งเช้า แล้วจึงนำไม้ไผ่มาวัดความยาวใหม่ หากปรากฏว่าไม้ไผ่ยาวกว่าเดิมถือว่าพื้นที่นี้ดี หากสั้นกว่าเดิมถือว่าไม่ดี ถ้าสร้างเรือนอยู่ครอบครัวจะแตกแยก การทำมาหากินไม่เจริญก้าวหน้าและมีอาถรรพ์ นอกจากนี้ ควรลีกเลี่ยงการปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ตอไม้ใหญ่หรือครอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการปลูกเรือนใกล้ต้นไม้ใหญ่ ที่ดินสุสาน และพื้นที่รูปลิ้นมีนาขนาบทั้งสองข้าง

ทิศทางของเรือน

สำหรับทิศทางของเรือนชาวมุสลิมเชื่อกันว่าไม่ควรสร้างขวางดวงตะวัน เพราะจะทำให้ผู้อาศัยหลับนอนมีอนามัยไม่ดี ไม่มีความจีรังยั่งยืนทางที่ดีที่สุดคือหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก หลังบ้านอยู่ทางทิศตะวันตก อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมสมัยก่อนนิยมสร้างเรือนหันหน้าบ้านไปทางทิศเหนือ หรือทางถนนเพื่อการสัญจร ส่วนห้องนอนต้องอยู่ทางทิศตะวันตก บางบ้านนิยมสร้างเรือนข้าว โดยเชื่อว่าเรือนข้าวมีความสำคัญต่อครอบครัว เพราะเป็นเครื่องวัดฐานะความมั่นคงของเจ้าบ้านทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องทิศทางและทำเลที่ปลูกสร้างเรือนข้าวต่อมาโดยเชื่อกันว่าการปลูกเรือนข้าวไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้ของเรือนอาศัย จะทำให้มีข้าวอุดมสมบูรณ์

ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน

 

การเลือกฤกษ์ยามในวันลงเสาเรือน เจ้าของบ้านจะต้องไปหาฤกษ์จากผู้รู้ เช่น โต๊ะอิหม่าม ซึ่งโดยมากวันที่ที่เป็นมงคลในการเริ่มลงเสาเรือนจะถือปฏิบัติกันหลายวิธี และวิธีหนึ่งที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไปคือ การนับธาตุทั้งสี่อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งมีความหมายดังนี้คือ
ดิน” หมายถึงการทำงานเป็นไปอย่างช้า ๆ อาจจะพบปัญหาและอุปสรรค
น้ำ” หมายถึงการทำงานอยู่ในสภาพเยือกเย็นได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
ไฟ” หมายถึงการทำงานอยู่ในสภาพอารมณ์ร้อน การทำงานมีปัญหาและการทะเลาะเบาะแว้งในเครือญาติหรือเพื่อนร่วมงาน
ลม” หมายถึงการทำงานเป็นไปอย่างรวมเร็ว ราบรื่น ไม่ค่อยมีปัญหา มีโชคลาภและอารมณ์เย็น การนับวันว่า วันไหนจะตกตรงกับธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะต้องนับตามวันทางจัทรคติดังต่อไปนี้
ดินน้ำไฟลม ขึ้น 1 ค่ำขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 3 ค่ำขึ้น 4 ค่ำ56789101112131415แรม 1 ค่ำแรม 2 ค่ำแรม 3 ค่ำแรม 4 ค่ำแรม 5 ค่ำ6789101112131415 วันที่นิยมสร้างเรือน ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี ส่วนวันที่ต้องห้าม คือ วันพุธ วันเสาร์ และไม่นิยมสร้างในวันศุกร์และวันพุธปลายเดือน ทั้งนี้การนับวันของชาวไทยมุสลิมจะนับเวลาขึ้นวันใหม่ตั้งแต่เวลา 18.01 น. ไปจนถึงเวลา 18.00 น. ของวันต่อไป

นอกจากนี้การสร้างเรือนของชาวมุสลิมจะไม่นิยมสร้างในข้างแรมของแต่ละเดือน แต่จะนิยมสร้างข้างขึ้น สำหรับเดือนที่ถือว่ามีสิริมงคลในการเริ่มก่อสร้างเรือนมีเพียง 6 เดือนเท่านั้น ได้แก่

    เดือนซอฟาร์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภได้ทรัพย์สมบัติทวีคูณ
    เดือนยามาดิลอาวัล เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภ มีบริวารมากเป็นที่รู้จักในวงสังคม
    เดือนซะบัน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะได้รับยศศักดิ์และเกียรติเป็นที่เคารพนับถือจากสังคมทั่วไป
    เดือนรอมฎอน เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภและความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
    เดือนซุลกีฮีเดาะห์ เชื่อกันว่าถ้าสร้างเรือนในเดือนนี้จะมีโชคลาภอย่างมหาศาล ทรัพย์สมบัติที่ได้มาจะได้สืบทอดถึงลูกหลานด้วยพร้อมกันนี้ญาติพี่น้องและมิตรสหายจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้นอาหารการกินสมบูรณ์ตลอด

ส่วนเดือนอื่น ๆ อีก 6 เดือน ถือว่าเป็นเดือนไม่ดี ความหลีกเลี่ยงการลงเสาเรือน เพราะจะพบกับอุปสรรคต่าง ๆไม่จบสิ้น

การยกเสาเอก

โดยปกติบ้านหลังหนึ่งจะมี 6 เสา เวลาลงเสาจะลงหมดทั้งหมดทั้ง 6 เสาพร้อมกัน แต่ถือว่าเสากลางด้านทิศเหนือเป็นเสาเอก ซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “เตียงซือรี” ก่อนลงเสาทั้ง 6 ต้องใช้เหรียญบาทติดไว้ที่โคนทุกเสา แต่ถ้าเจ้าบ้านเป็นคนฐานะดี อาจติดทองคำด้วย ทั้งนี้ด้วยความเชื่อว่าเมื่อติดเหรียญทองคำที่โคนเสาแล้ว จะได้นั่งบนกองเงินกองทอง ทำมาหากินดี มีเงินเหลือเก็บและฐานะดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับเสาเอก เวลาลงเสาจะต้องเอาผ้าแดง 1 ผืน กล้ามะพร้าวที่มีใบ 3-4 ใบ จำนวน 1 ต้น รวงข้าวประมาณ 1 กำมือ ทองคำจำนวนหนึ่งโดยปกติใช้สร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึง 1 เส้น ผูกไว้ที่เสาเอกเป็นเวลา 3 วันจึงเอาออก (ส่วนทองคำหลังจากลงเสาแล้วจะเอาออกทันทีเพราะกลัวขโมย)



การสร้างเรือน

เมื่อเจ้าของเรือนตกลงเลือกสถานที่สร้างได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนการสร้างเรือน โดยเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกับช่างไม้ในเรื่องขนาดแบบเรือน ค่าใช้จ่าย และอื่น ๆ เพราะเรือนที่สร้างจะไม่มีการเขียนแบบแปลน แต่อาศัยความชำนาญของช่างแต่ละคน โดยทั่วไปมีแบบและขั้นตอนการสร้างดังนี้

    ขนาดของตัวเรือนขึ้นอยู่กับจำนวนเสา โดยมากนิยมสร้างเสา 6,9 และ 12 เสา สำหรับตัวเรือนแต่เดิมนิยมสร้างเป็นแบบเรือนแฝดมีชานกลางเชื่อมตัวเรือนหลักเข้ากับครัว แต่ต่อมานิยมสร้างเป็นตัวเรือนเดี่ยว ความกว้างของเรือนนิยมสร้าง 7 หรือ 10 ศอก แต่ไม่นิยมสร้างเรือน 8 ศอก โดยวัดจากช่วงข้อศอกถึงปลายนิ้วกลาง ยกเว้นข้อศอกสุดท้ายจะกำมือ ส่วนบันไดนิยมความกว้างเป็นเลขคี่ เช่น 3, 5,7 จะไม่นิยมลงเลขคู่ เพราะถือว่าเป็นบันไดผี นำความอัปมงคลมาสู่ผู้อยู่อาศัย
    ความสูงของตัวเรือน นิยมสร้างโดยยกพื้นใต้ถุนสูงพอคนลอดได้ หรือไม่เกิน 2 เมตร เพื่อใช้ใต้ถุนเป็นที่เก็บของ ทำเป็นคอกสัตว์ที่นั่งเล่น และใช้เป็นที่ประกอบอาชีพเสริม เช่น สานเสื่อ ทำกรงนกเขาชวา ฯลฯ
    พื้นเรือน มักตีพื้นลดหลั่นกันตามประเภทการใช้สอย โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ จากบันไดสู่ชาน จากชานสู่ระเบียงใช้เป็นที่รับแขกจากระเบียงยกระดับสูงขึ้นเป็นพื้นห้องโถงใหญ่และห้องนอน ลดระดับลงมาเป็นพื้นครัว ถ้าครอบครัวฐานะดีจะใช้ไม้กระดานตีให้ห่าง เพื่อระบายลมและเทน้ำทิ้ง ถ้าครอบครัวฐานะยากจนจะใช้ไม้ไผ่ตีเป็นฟากจากครัวลดระดับลงมาเป็นชานซักล้างอยู่ติดกับบันไดหลังบ้าน
    การกั้นห้องและพื้นที่สำหรับละหมาดเรือนไทยมุสลิมจะกั้นห้องเฉพาะใช้นอนเท่านั้น นอกนั้นปล่อยเป็นพื้นที่โล่ง ใช้เป็นที่รับแขกและพิธีต่าง ๆ เช่น แต่งงาน งานเมาลิด ฯลฯ แต่เนื่องจากบัญญัติของศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมจะต้องทำละหมาดทุกวัน ๆ ละ 5 ครั้ง ทุกบ้านจึงต้องกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับทำละหมาดโดยใช้เกณฑ์ดังนี้คือ
    - ต้องมีฝาหรือผ้าม่านกั้นไม่ให้คนเดินผ่าน
    - ต้องอยู่บนเรือนหลัก
    - ต้องหันหน้าไปทางทัศตะวันตก

การสร้างตัวเรือนหลัก

เมื่อทำพิธียกเสาเอกแล้ว จะยกเสาที่เหลือขึ้น จากนั้นจึงติดตั้งโครงสร้างเรือน โดยประกอบโครงหลังคาบนดินก่อน แยกประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน ตีแปแล้วขึ้นมุงหลังคา ก่อนวางตงแล้วตีพื้น จากนั้นจึงตีราวฝา ติดตั้งวงกบประตู หน้าต่าง ตีฝา แล้วต่อระเบียงหน้าบ้าน ต่อครัวไปทางด้านหลัง เมื่อเสร็จตัวเรือนแล้วจึงติดตั้งบันไดหน้าบ้านและหลังบ้าน เมื่อสร้างเรือนเสร็จแล้วนิยมขุดบ่อน้ำไว้ใช้อุปโภค โดยนิยมขุดบ่อไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และสร้างที่อาบน้ำไว้บริเวณใกล้บ่อน้ำ เพราะแต่เดิมไม่นิยมสร้างส้วมหรือห้องน้ำไว้ในตัวเรือน 6

 

 

การประดับตกแต่งตัวเรือน

เรือนไทยมุสลิมดั้งเดิมจะไม่ทาสี แต่จะใช้น้ำมันไม้ทาเพื่อป้องกันปลวก ส่วนการประดับตกแต่งตัวเรือนขึ้นอยู่กับฐานะของเจ้าบ้าน หากมีฐานะดีจะประดับตัวเรือนด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลายประดับยอดจั่ว ช่องลม และเชิงชาย


ที่มา   http://www.baanjomyut.com/library/thaihouse/04.html

เรือนไทย (ภาคใต้)

เรือนไทยภาคใต้

เรือนไทยภาคใต้ (ชาวใต้ออกสำเนียงว่า เริน) แบ่งตามภูมิศาสตร์ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ เรือนไทยภาคใต้ตอนบน เริ่มจากจังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดสงขลา และเรือนไทยมุสลิมภาคใต้ตอนล่าง ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล






     เรือนไทยภาคใต้ตอนบน เป็นเรือนของชาวไทยพุทธเป็นส่วนใหญ่ ตัวเรือนมีลักษณะคล้ายเรือนไทยภาคกลาง แต่มีลักษณะเฉพาะของภาคที่ต้องกันความชื้น เช่นตัวเรือนต้องไม่ใหญ่ ทรงเตี้ยกว่าเรือนไทยภาคกลางเพื่อลดแรงต้านลมในฤดูมรสุม ยกพืนไม่สูงนัก ประมาณก้มหัวเดินลอดได้ พอให้ลมพัดผ่านได้สะดวกเพื่อไล่ความชื้น และเนื่องจากฝนชุก พื้นดินชื้นกว่าภาคอื่นทำให้เสาเรือนผุง่าย จึงแก้ปัญหาด้วยการไม่ฝังเสาลงดิน แต่รับตีนเสาทำด้วยหิน ปะการัง หรือไม้ ภายหลังทำด้วยปูน ทำเป็นลวดลายต่างๆ

     หลังคา เป็นหลังคาจั่วแต่ไม่ชันมาก ยอดปั้นลมไม่แหลมเหมือนยอดปั้นลมเรือนไทยภาคกลาง หางปั้นลมไม่นิยมทำเป็นตังเหงาแต่ทำเป็นหางปลา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาซึ่งส่วนใหญ่ทำจากโรงงานกระเบื้องบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

     ฝาเรือน นิยมใช้ไม้ตีเกล็ดตามแนวนอน หรือฝาสายบัวในแนวตั้ง ประตูหน้าต่างใช้แกนหมุนวงกบเข้าเดือย แกะสลักเป็นรูปดาวหรือดอกไม้ บานประตูหน้าต่างเซาะร่อง แกะเป็นลวดลาย บานหน้าต่างทำเป็นลูกฟัก กรอบบนและกรอบล่างฉลุโปร่งเพื่อระบายอากาศ

     พื้นเรือน ปูด้วยไม้กระดานต่างระดับกัน พื้นเรือนนอนจะสูงกว่าระเบียงและชาน บันไดเรือนคล้ายบันไดเรือนภาคอื่นๆ มีตุ่มหรืออ่างใส่น้ำล้างเท้าเช่นกัน

     เรือนไทยภาคใต้นิยมสร้างเรือนนอน มีระเบียงตามยาว มีหลังคาคลุม ต่อด้วยชานโล่ง หากต้องการสร้างเรือนเพิ่มมักสร้างเป็นเรือนคู่ เรือนเคียงเชื่อมกันด้ัวยชาน มีเรือนครัวขวางด้านสกัด

     ชาวใต้นิยมเลี้ยงนกไว้ดูเล่น เช่น นกเขาชวาที่ขันเสียงหวาน นกกรงหัวจุก เป็นต้น ทุกเรือนจึงมีกรงนกแขวนอยู่เป็นส่วนประกอบ


 ที่มา  https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%98/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1/269864446428401

 

ความเชื่อในการตั้งหมู่บ้าน (ภาคอีสาน)

ความเชื่อในการตั้งหมู่บ้าน


 การเลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งหมู่บ้านในภาคอีสานจะเห็นได้ว่ามีหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ต้องเลือกทำเลที่ประกอบด้วย

1. น้ำ เพื่อการยังชีพและประกอบการเกษตรกรรม

2. นา เพื่อการปลูกข้าว (ข้าวเหนียว) เป็นอาหารหลัก

3. โนน เพื่อการสร้างบ้านแปงเมือง ที่น้ำท่วมไม่ถึง

ส่วนคติความเชื่อของชาวอีสานในการดำเนินชีวิต ชาวอีสานมี ความเชื่อที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษกล่าวคือ ความเชื่อในอำนาจลี้ลับที่เหนือธรรมชาติ และเชื่อในการครองเรือน การทำมาหาเลี้ยงชีพ สิ่งใดที่โบราณห้ามว่าเป็นโทษ และเป็นความเดือดร้อนมาให้ก็จะละเว้นและไม่ยอมทำสิ่งนั้น

สำหรับความเชื่อในการตั้งหมู่บ้านก็ไม่ต่างกันนัก ชาวอีสานมีการนับถือ"ผีบ้าน" และแถนหรือ "ผีฟ้า"มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาลูกหลาน มีการตั้ง "ศาลเจ้าปู่" ไว้ที่ดอนปู่ตา ซึ่งมีชัยภูมิเป็นโคก น้ำท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง "ตูบ" เป็นที่สถิตของเจ้าปู่ทั้งหลาย ตลอดจนการตั้ง "บือบ้าน"(หลักบ้าน)เพื่อเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และมีการเซ่น "ผีอาฮัก" คือเทพารักษ์ให้ดูแลคุ้มครองผู้คนในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป

พิธีเลี้ยง "ผีปู่ตา" จะกระทำในเดือน 7 คำว่า "ปู่ตา" หมายถึงญาติฝ่ายพ่อ(ปู่-ย่า)และญาติฝ่ายแม่(ตา-ยาย)ซึ่งทั้งสี่คนนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นที่เคารพของลูกหลาน ครั้นเมื่อตายไปจึงปลูกหอหรือที่ชาวอีสานเรียก"ตูบ" มักใช้เสา 4 ต้น หลังคาจั่วพื้นสูง โดยเลือกเอาสถานที่เป็นดงใกล้บ้านมีต้นไม้ใหญ่และสัตว์ป่านานาชนิดเรียกว่า" ดงปู่ตา" ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธ์ ใครไปรุกล้ำตัดต้นไม้หรือล่าสัตว์ไม่ได้ หรือแม้แต่แสดงวาจาหยาบคายก็ไม่ได้ ปู่ตาจะลงโทษกระทำให้เจ็บหัวปวดท้อง

และเมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วย มีคนล้มตายผิดปกติเกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวอีสานถือกันว่า"หลักเหงี่ยงหงวย" ต้องทำพิธีตอกหลักบ้านใหม่ให้เที่ยงตรง มีการสวดมนต์เลี้ยงพระสงฆ์ เซ่นสรวงเทพยาดาอารักษ์ แล้วหาหลักไม้แก่นมาปักใหม่ ซึ่งต้องมีคาถาหรือยันต์ใส่พร้อมกับสวดญัตติเสาก่อนเอาลงดินในบริเวณกลาง บ้าน ทั้งนี้เพราะชาวอีสานมีความเชื่อในการตั้ง "หลักบ้าน" เพราะหลักบ้านเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผังชุมชนระดับหมู่บ้าน และเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น "หลักบ้าน" ก็พัฒนาไปสู่"หลักเมือง" ดังที่ปรากฎอยู่ทั่วไปในประเทศไทย

หลักบ้านมักสร้างด้วยไม้มงคล เช่น ไม้คูน ไม้ยอ มีทั้งหลักประธานหลักเดี่ยวและมีพร้อมหลักบริวารรายล้อม ส่วนรูปแบบของหลักบ้านนั้น มักควั่นหัวไม้เป็นเสาทรงบัวตูมหยาบ ๆ บางแห่งก็ถากให้เป็นปลายแหลมแล้วทำหยัก"เอวขัน"ไว้ส่วนล่าง

    ความเชื่อในการสร้างเรือนอีสาน


อันดับแรกต้องพิจารณาสถานที่ ๆ จะสร้างเรือนก่อน โดยต้องเลือกเอาสถานที่ปลอดโปร่ง ไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีจอมปลวก ไม่มีหลุมผี ไม่มีตอไม้ใหญ่ และต้องดูความสูงต่ำ ลาดเอียงของพื้นดินว่าลาดเอียงไปทางทิศใดและจะเป็นมงคลหรือไม่ ดังนี้

1. พื้นดินใด สูงหนใต้ ต่ำทางเหนือ เรียกว่า "ไชยะเต ดีหลี"


2. พื้นดินใด สูงหนตะวันตก ต่ำทางตะวันออก เรียกว่า "ยสะศรี-ดีหลี"


3. พื้นดินใด สูงทางอีสาน ต่ำทางหรดี เรียกว่า "ไม่ดี"


4. พื้นดินใด สูงทางอาคเนย์ ต่ำทางพายัพ เรียกว่า "เตโซ" เฮือนนั้นมิดี เป็น ไข้ พยาธิฮ้อนใจ


เมื่อเลือกได้พื้นที่ปลูกเรือนแล้ว จะมีการเสี่ยงทายพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดข้าว 3 กระทง คือ ข้าวเหนียว 1 กระทง,ข้าวเหนียวดำ 1 กระทงและข้าวเหนียวแดง 1 กระทง นำไป วางไว้ตรงหลักกลางที่ดินเพื่อให้กากิน

ถ้ากากินข้าวดำ ท่านว่าอย่าอยู่เพราะที่นั้นไม่ดี
ถ้ากากินข้าวแดง ท่านว่าไม่ดียิ่งเป็นอัปมงคลมาก
ถ้ากากินข้าวขาว ท่านว่าดีหลี จะอยู่เย็นเป็นสุข ให้รีบเฮ็ดเรือนสมสร้างให้ เสร็จเร็วไว
การเลือกพื้นที่ที่จะปลูกเรือนอีกวิธีหนึ่งคือ การชิมรสของดินโดยขุดหลุมลึกราวศอกเศษ ๆ เอาใบตองปูไว้ก้นหลุม แล้วหาหญ้าคาสดมาวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้ค้างคืนจะได้ไอดินเป็นเหงื่อจับอยู่หน้าใบตอง จากนั้นให้ชิมเหงื่อที่จับบนใบตอง

หากมีรสหวาน เป็นดินที่พออยู่ได้
มีรสจืด เป็นดินที่เป็นมงคล จะอยู่เย็นเป็นสุข
มีรสเค็ม เป็นอัปมงคล ใครอยู่มักไม่ยั่งยืน
มีรสเปรี้ยว พออยู่ได้แต่ไม่ใคร่ดีนัก จะมีทุกข์เพราะเจ็บไข้อยู่เสมอ

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องกลิ่นของดินอีกด้วย โดยการขุดดินลึกราว 1 ศอก เอาดินขึ้นมาดมกลิ่นว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าดินมีกลิ่นหอม ถือว่าดินนั้นอุดมดี เป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าดินมีกลิ่นเย็น กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว ถือว่าดินนั้นไม่ดี ใครปลูกสร้างบ้านอยู่เป็นอัปมงคล

การดูพื้นที่ก่อนการสร้างเรือน ชาวอีสานแต่โบราณถือกันมากแต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถี ชีวิต โดยยังใช้คติเดิมแต่มีการเลี่ยงหรือแก้เคล็ด เช่น การชิมดิน หากเป็นรสเค็มหรือเปรี้ยวก็แก้เคล็ดโดยการบอกว่าจืด ส่วนการดมกลิ่นดิน หากมีกลิ่นเหม็นคาวก็จะบอกเอาเคล็ดว่าหอม เป็นต้น

    ฤกษ์ยามในการปลูกเรือน


ฤกษ์เดือน

1. เดือนเจียง (เดือนอ้าย) นาคนั้นนอนหลับหากปลูกเรือนอยู่มักตาย

2. เดือนยี่ นาคนอนตื่น ปลูกเรือนอยู่ดี

3. เดือนสาม นาคหากินทางเหนือ มิดี อยู่ฮ้อนไฟจักไหม้

4. เดือนสี่ นาคหากินอยู่เรือน ปลูกเรือนอยู่ดีเป็นมงคล

5. เดือนห้า นาคพ่ายครุฑหนี ปลูกเรือนร้อนนอกร้อนใจ มิดี

6. เดือนหก จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มิตรสหายมาก

7. เดือนเจ็ด นาคพ่ายหนี จักได้พรากจากเรือนมิดี

8. เดือนแปด นาคเห็นครุฑ จักได้เสียของมิรู้แล้ว

9. เดือนเก้า นาคประดับตน ปลูกเรือนมีข้าวของกินมิรู้หมด

10. เดือนสิบ นาคถอดเครื่องประดับ ปลูกเรือนเข็ญใจ และคนในเรือนมักเจ็บ ไข้ตาย

11. เดือนสิบเอ็ด จะเกิดทุกข์ภัยอันตรายต่าง ๆ มักจะมีคนฟ้องร้องกล่าวหา จัก มีโทษทัณฑ์

12. เดือนสิบสอง จะได้ทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของ และคนใช้ดีหลีแล

    ฤกษ์วัน

1. วันอาทิตย์ ปลูกเรือนจะเกิดทุกข์อุบาทว์

2. วันจันทร์ ทำแล้ว 2 เดือนจะได้ลาภผ้าผ่อนและของขาวเหลือง เป็นที่พึงพอใจ

3. วันอังคาร ทำแล้ว 3 วันไฟจะไหม้หรือเจ็บไข้

4. วันพุธ ปลูกเรือนจะได้ลาภเครื่องอุปโภคมีผ้าผ่อน เป็นต้น

5. วันพฤหัสบดี ปลูกเรือนจะเกิดสุขสบายใจ ทำแล้ว 5 เดือนจะได้โชคลาภมากมาย

6. วันศุกร์ ปลูกเรือนจะมีความทุกข์และความสุขก้ำกึ่งกัน ทำแล้ว 3 เดือน จะได้ลาภ เล็กน้อย

7. วันเสาร์ ปลูกเรือนจะเกิดพยาธิ หรือเลือดตกยางออก ทำแล้ว 4 เดือนจะลำบาก ห้ามไม่ให้ทำแล



ที่มา   http://www.openbase.in.th/node/10814

เรือนไทย (ภาคอีสาน)

เรือนไทยภาคอีสาน






การสร้างบ้านของชุมชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณมักเลือกทำเล ที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มที่มีแม่สำคัญ ๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักข้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน หนอง" เป็นส่วนใหญ่

ลักษณะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่รวมกัน เป็นกระจุก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำนั้นมีน้อย ผิดกับทางภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนตามทางยาว ทั้งนี้เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากกว่า

หนุ่มสาวชาวอีสานเมื่อแต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ต่อเมื่อมีลูกจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "ออกเฮือน" แล้ว หักล้างถางพงหาที่ทำนา ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูกชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณเหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มีแหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใดกว้างไกลไปมาลำบาก ก็จะชักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่ใกล้เคียงกับนาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นหมู่บ้านขึ้น





    ลักษณะเรือนไทยอีสาน


คำว่า “บ้าน “ กับ “เฮือน” (ความ หมายเช่นเดียวกับ “เรือน”) สำหรับความเข้าใจของ ชาวอีสานแล้วจะต่างกัน คำว่า “บ้าน” มักจะหมายถึง “หมู่บ้าน” มิใช่บ้านเป็นหลัง ๆ เช่น บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านนาคำแคน หรือบ้านดงมะไฟ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ เฮือน” นั้นชาวอีสานหมายถึงเรือนที่เป็นหลัง ๆ

นอกจากคำว่า “เฮือน “ แล้ว อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น คำว่า “โฮง” หมายถึงที่พักอาศัยใหญ่กว่า “เฮือน” มักมีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองหรือเจ้าครองนครในสมัยโบราณ

คำว่า “คุ้ม” หมายถึง บริเวณที่มี “เฮือน” รวมกันอยู่หลาย ๆ หลัง เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น คุ้มวัดเหนือ คุ้มวัดใต้ และคุ้มหนองบัว เป็นต้น คำว่า “ตูบ” หมายถึง กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้

ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและ ตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” (ตามตะวัน) เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ “ขวางตาเว็น” แล้วจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคลทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข

บริเวณรอบ ๆ เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติมักทำยุ้งข้าวไว้ใกล้เรือน บางแห่งทำเพิงต่อจากยุ้งข้าว มีเสารับมุงด้วยหญ้าหรือแป้นไม้ เพื่อเป็นที่ติดตั้งครกกระเดื่องไว้ตำข้าว ส่วนใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นบริเวณที่มีการใช้สอยมากที่สุด จะมีการตั้งหูกไว้ทอผ้า กี่ทอเสื่อ แคร่ไว้ปั่นด้วย และเลี้ยงลูกหลาน

นอกจากนั้นแล้ว ใต้ถุนยังใช้เก็บไหหมักปลาร้า และสามารถกั้นเป็นคอกสัตว์เลี้ยง ใช้เก็บเครื่องมือเกษตรกรรม ตลอดจนใช้จอดเกวียน


ที่มา  http://www.openbase.in.th/node/10814
       http://www.google.co.th/imgres?start=232&hl=th&client=firefox-a&hs=od3&sa=X&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=Mq_EJV2or8QF5M:&imgrefurl=http://www.gotoknow.org/comments/users/surin1%3Fpage%3D8&docid=e7GT8s3HUEF0xM&imgurl=http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/685/044/large_ruanisan15.jpg%253F1296653126&w=640&h=480&ei=p4p-T7-fO4e4iQeWk42hBA&zoom=1&iact=hc&vpx=318&vpy=133&dur=3142&hovh=194&hovw=259&tx=118&ty=119&sig=114599146713435068892&page=22&tbnh=126&tbnw=229&ndsp=10&ved=1t:429,r:5,s:232,i:139

องค์ประกอบเรือนไทย (ภาคกลาง)

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคกลาง
  
  ฐานรากของเรือนไทยภาคกลาง
แระ คือเป็นแผ่นไม้กลมหรือสี่เหลี่ยม หนาประมาณ 5 ถึง 7 ซม.วางลงก้นหลุมที่กระทุ้งดินแน่นดีแล้ว ใช้กับพื้นที่ที่ดินแน่นดีพอรับน้ำหนักเรือนได้

กงพัด คือไม้สี่เหลี่ยม ประมาณหน้าหก สอดทะลุช่องที่เจาะโคนเสา หรือใช้กงพัดคู่ประกบสองข้างเสาที่บากไว้รับ แล้ววางกงพัดลงบนงัว ซึ่งเป็นไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ถึง 10 นิ้ว เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ดิน
    รอด คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหกหรือแปด หนาประมาณ 2 นิ้ว ที่สอดทะลุช่องที่เจาะเสา สำหรับรับไม้พื้น

พรึง คือไม้สี่เหลี่ยมหน้าหก หนา 1.5 - 2 นิ้วตีรัดรอบตัวเรือนโดยวางบนรอด
 ไม้พื้น ไม้กระดานหนาประมาณ 1 - 1.5 นิ้ว หน้ากว้างตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป วางบนรอดไปตามความยาวของเรือน

รา กรณีที่ใช้ไม้พื้นบาง หรือช่วงเสาห่าง ไม้พื้นจะแอ่นตกท้องช้าง ต้องใช้ราช่วยพยุงในช่วงกลางเสา ขนาดเท่ากับรอดหรือเล็กกว่า แต่เนื่องจากไม่มีเสารับเหมือนรอด จึงต้องใช้การแขวนจากพรึง โดยใช้เหล็กเส้นงอเป็นรูปขอ


ฝัก มะขาม คือไม้ชิ้นเล็กๆยึดติดกับเสาเพื่อรับไม้พื้นช่วงที่ตรงกับแนวเสา ไม่สามารถพาดบนรอดได้เหมือนไม้แผ่นอื่น เนื่องจากมีรูปร่างงอให้รับกับเสากลมคล้ายฝักมะขาม จึงเรียกฝักมะขาม


โครง สร้างพื้นแบบ คาน - ตง - พื้น แบบปัจจุบันก็มีใช้ในเรือนไทยแบบประเพณีเหมือนกัน แต่ลักษณะที่แตกต่างคือ มีไม้ตุ๊กตาตั้งบนคานเพื่อรับตง เพราะตงมีขนาดเล็กกว่ารอด ต้องยกขึ้นให้มีระดับเท่ากัน

ที่มา  http://suebpong.rmutl.ac.th/Vernweb/index1.htm

ลักษณะของเรือนไทย (ภาคกลาง)

ลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง





เรือน ไทยภาคกลาง ยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลด หลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตรพื้นชานลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตรและปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ดังนี้ คือ ช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน สามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้น ล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตรไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า

หลังคาทรงจั่วสูงชายคา ยื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคา ทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้า จั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ ทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก ชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

ชานกว้าง โดยทั่วไปมีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 พื้นที่นี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก เพราะดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าว





ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87
         http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&client=firefox-a&sa=N&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&tbnid=ETC6DLKmUfZJbM:&imgrefurl=http://banruenthai.exteen.com/page&docid=l-nxFOGfNyaxRM&imgurl=http://uc.exteenblog.com/banruenthai/images/krang/DSC00733_resize.jpg&w=300&h=225&ei=v4V1T7KgEYOsrAfB3LitDQ&zoom=1&iact=hc&vpx=277&vpy=4&dur=3348&hovh=180&hovw=240&tx=150&ty=122&sig=114599146713435068892&page=3&tbnh=125&tbnw=167&start=20&ndsp=12&ved=1t:429,r:1,s:20

ประเภทเรือนไทย (ภาคกลาง)

ประเภทเรือนไทยภาคกลาง


เรือนเดี่ยว

เป็น เรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจ เป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะ ประกอบด้วย เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียงยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน

    เรือนหมู่

เรือน หมู่ คือ เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกัน สมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน จะอยู่เรือนหลังย่อมกว่า เรือนหลังเดิมเรียกว่า “หอกลาง” ส่วนเรือนนอกเรียกว่า “หอรี” เพราะปลูกไปตามยาว ถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้านสกัดก็เรียกว่า “หอขวาง” อาจมี“หอนั่ง”ไว้สำหรับนั่งเล่น บางแห่งมี“หอนก” ไว้สำหรับเลี้ยงนก

    เรือนหมู่คหบดี

เรือน หมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกิน ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของโบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือน หลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป ประกอบด้วย เรือนนอน เรือนลูก เรือนขวาง เรือนครัว หอนก และชาน

    เรือนแพ

การ สร้างบ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก ไม่สะดวกในหน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ " เรือนแพ " ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง


ที่ มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87

เรือนไทย (ภาคกลาง)

เรือนไทยภาคกลาง

 

 

เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภท ที่นิยมที่สุด มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม
ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็น เรือนไทยแท้ เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง รูปแบบต่าง ๆ อาทิ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และ เรือนแพ



ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87

องค์ประกอบของเรือนล้านนา (ภาคเหนือ)

องค์ประกอบของเรือนล้านนา

จะมีส่วนประกอบหลักๆดังนี้


ข่วงบ้าน 


 ข่วงบ้าน ลักษณะเป็นลานดินกวาดเรียบกว้างเป็นลานอเนกประสงค์ ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนเล่นของเด็ก ลานตากพืชผลทางการเกษตร เป็นลานที่เชื่อมเส้นทางสัญจรหรือทางเดินเท้าให้เข้าสู่ตัวอาคาร และกระจายไปสู่ลานในบ้านข้างเคียงและถนนหลัก

บันไดและเสาแหล่งหมา

ตัวบันไดเรือนจะหลบอยู่ใต้ชายคาบ้านด้านซ้ายมือเสมอ จึงต้องมีเสาลอยรับโครงสร้างหลังคาด้านบนตั้งลอยอยู่ แต่โดยทั่วไปเรือนไม้มักจะยื่นโครงสร้างออกมาอีกส่วนหนึ่งโดยทำเป็นชายคาคลุมบันไดหรือเป็นโครงสร้างลอยตัว ส่วนเรือนแฝดประเภทมีชานเปิดหน้าเรือน ไม่หลบบันไดเข้าชายคา แต่จะวางบันไดชนชานโล่งหน้าเรือนอย่างเปิดเผย “เสาแหล่งหมา” คือเสาลอยโดด ๆ ต้นเดียว ที่ใช้รับชายคาทางเข้าซึ่งมาจากการที่ชาวเหนือนำหมามาผูกไว้ที่เสานี้นั่นเอง

ชาน

ชานเรือน คือพื้นไม้ระดับต่ำกว่าเติ๋น มักไม่มุงหลังคา เสารับชานเรียก เสาจาน ที่สุดช่านด้านที่มีคันได(บันได) มักจะมีฮ้านน้ำ(ร้านน้ำ)
ร้านน้ำ หรือ ฮ้านน้ำ



 คือหิ้งสำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวยหิ้งน้ำ สูงประมาณ80-100 เซนติเมตร หากหิ้งน้ำอยู่ที่ชานโล่งแจ้งเจ้าของบ้านจะทำหลังคาคลุมลักษณะคล้ายเรือนเล็ก ๆ เพื่อมิให้แสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำนี้ยิ่งเก่ายิ่งดี เพราะมักจะมีตะใคร่น้ำเกาะ ภายนอกช่วยให้น้ำในหม้อเย็นกว่าเดิม ข้างๆหม้อน้ำจะวางซองน้ำบวย (ที่ใส่น้ำกระบวย) ทำจากไม้ระแนงเป็นรูปสามเหลี่ยมตัว V ใส่กระบวยที่ทำจากกะลามะพร้าวต่อด้ามไม้สัก บางทีสลักเสลาปลายด้ามเป็นรูปสัตว์ต่างๆน่าสนใจ

เติ๋น

  ตัวเติ๋นเป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง มีขนาดไม่เล็กกว่าห้องนอนเท่าใดนัก ในกรณีของเรือนชนบทเป็นเนื้อที่ใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ ถ้ามีแขกผู้น้อยมาหาเจ้าของบ้านจะนั่งบนเติ๋นแขกนั่งบนชานบันไดหรือเนื้อที่ ที่มีระดับต่ำกว่า ถ้ามีแขกมีศักดิ์สูงกว่า เช่น ผู้ใหญ่ พระสงฆ์ เจ้าของบ้านก็จะนั่งถัดลงมา งานสวดศพก็จะใช้เนื้อที่นี้ประกอบพิธีกรรม ในกรณีที่มีลูกสาว ในเวลาค่ำคืนพวกหนุ่มก็มาแอ่วสาวที่เติ๋นนี้เอง เรือนที่มีห้องนอนเดียวก็จะใช้เติ๋นเป็นที่นอนของลูกชาย ลูกผู้หญิงนอนกับพ่อแม่ ลูกชายประเภทแตกเนื้อหนุ่มออกเที่ยวยามค่ำคืนกลับมาดึกดื่นไม่ต้องปลุกใคร เข้านอนได้เลย



ห้องนอน

 นระดับเรือนชนบทห้องนอนจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อที่ใช้งานอื่นๆ ฝาด้านทึบจะอยู่ชิดเติ๋น ประตูทางเข้าจะเปิดที่ผนังด้านโถงทางเดินที่ใช้ติดต่อกันทั้งบ้าน ส่วนเรือนไม้และเรือนกาแลที่มีตั้งแต่สองห้องนอนขึ้นไปบางทีรวมเนื้อที่ห้องนอนทั้งหมดแล้ว อาจจะเท่าเติ๋นหรือเล็กกว่าเล็กน้อย ห้องนอนในเรือนกาแลมักจะมีขนาดใหญ่ ฝาล้มออก จะจัดเนื้อที่ห้องนอนออกเป็นสองส่วนซีกหนึ่งใช้เป็นที่นอน อีกซีกใช้วางของ ระหว่างเนื้อที่ทั้งสองซีกมีแผ่นไม้กั้นกลาง (ไม้แป้นต้อง) ไม้ตัวนี้จะตัดความสั่นไหวของพื้นห้องนอนออกจากกันด้วย เมื่อใช้เดินออกจากห้องนอนในยามเช้า ขณะที่ผู้อื่นยังหลับไหลอยู่ ทำให้พื้นที่ส่วนอื่นไม่ไหวไม่เกิดเสียงไม้เบียดตัวกัน



หิ้งผีปู่ย่า(หิ้งบรรพชน)

เป็นหิ้งที่จัดสร้างเหนือหัวนอน ติดฝาด้านตะวันออกตรงมุมห้องอยู่ติดเสา หรือระหว่างเสามงคลและเสาท้ายสุดของเรือน มักทำเป็นหิ้งเล็กๆยื่นจากฝาเข้ามาในห้องมีระดับสูงเท่าๆ หิ้งพระ ผีปู่ย่า หมายถึง วิญญาณของบรรพชนที่สิงสถิตในห้องนอนนี้ และให้การคุ้มครองแก่ทุกคนที่อาศัยในห้องนี้ บนหิ้งมักมีพานหรือถาดใส่ดอกไม้ธูปเทียนจากการเซ่นไหว้เป็นครั้งคราว และมีการเซ่นไหว้เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เช่นแต่งงาน เจ็บป่วย เป็นต้น



ห้องครัว



     ห้องครัวจะอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องนอนเสมอ โดยแยกไปอีกหลังหนึ่ง โดยจะวางขนานกับเรือนใหญ่หรือเรือนนอน มีช่องทางเดินแยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน เนื้อที่ที่ใช้ตั้งเตาไฟจะยกขึ้นมาเป็นแท่นไม้อัดดินแน่น พวกอุปกรณ์หุงต้มต่างๆ จะจัดอยู่บนแท่นไม้นี้ เป็นการป้องกันอัคคีภัยอย่างหนึ่ง ทำงานแบบนั่งก็สะดวก ภายในเรือนครัวประกอบด้วยส่วนเตาไฟ ทำด้วยกระบะไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อัดด้วยดินให้แน่นและเรียบสูงประมาณ 20 ซม. เป็นที่ฝัง “ก้อนเส้า” มักทำด้วยดินกี่(อิฐ) 3 ก้อน ตั้งเอียงเข้าหากัน เพื่อใช้เป็นเตาไฟ และวางหม้อแกง หรือหม้อนึ่งข้าวได้พอดี อาจจะทำ “ก้อนเส้า” ดังกล่าวนี้ 2 ชุด เพื่อสะดวกแก่การทำครัว ส่วนเหนือของเตาไฟจะมี “ข่า” ทำด้วยไม้จริงหรือไม้ไผ่ก็ได้เป็นตารางสำหรับย่างพืชผล และเป็นที่รมควันพวกเครื่องจักสาน กระบุง ตะกร้า เพื่อกันตัวมอดและทำให้ทนทานอีกด้วย ตอนบนหลังคาระดับจั่วจะเจาะโปร่งเป็นช่อง เพื่อการระบายควันไฟขณะทำครัว


ที่มา    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=04-06-2010&group=104&gblog=191


ประเภทของเรือนไทย (ภาคเหนือ)

 เรือนไทยภาคเหนือ - เรือนล้านนา


เรือนล้านนาประเภทต่าง ๆ ได้ถูกตั้งขึ้นตามสภาพการใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้









1) เรือนเครื่องผูก หรือเรือนไม้บั่ว ซึ่งหมายถึงไม้ไผ่ เรือนประเภทนี้เป็นเรือนขนาดเล็ก ถือว่าเป็นเรือนแบบดั้งเดิม เพราะวิธีการก่อสร้างเป็นวิธีการที่ เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านที่มีรายได้น้อย ยังนิยมปลูกสร้างเรือนเครื่องผูกนี้ทั้งในตัวเมืองและชนบท โดยสามารถหาดูได้ทั่วไปตามชนบทและหมู่บ้านต่าง ๆ เรือนชนิดนี้โครงสร้างส่วนหลังคา ตงพื้นใช้ไม้ไผ่ ส่วนคานและเสานิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ฝาเป็นฝาไม้ ไผ่สาน หลังคามุงแฝกหรือใบตองตึง นิยมใช้ตอกและหวายเป็นตัวยึดส่วนต่าง ๆ ของเรือนเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกมัด





2) เรือนกาแล หรือที่ชาวล้านนาในปัจจุบันเรียกว่า “เฮือนบ่าเก่า”(เฮือนคือเรือน บ่าเก่าคือโบราณ) เป็นเรือนล้านนาที่สร้างขึ้นอย่างมั่นคง และมีส่วน ประกอบประณีตกว่าเรือนแบบแรก นิยมสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง มีไม้ป้านลมหลังคา ส่วนปลายยอดไขว้กันเรียกว่า "กาแล" ซึ่งมักสลักเสลาสวยงาม


เป็นเรือนพักอาศัยของผู้มีอันจะกิน ผู้นำชุมชนหรือบุคคลชั้นสูงในสังคม ตั้งแต่ระดับชนบทถึงระดับเมือง เรือนประเภทนี้เป็นเรือนที่สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือไม้จริงทั้งหมด เรียกตามลักษณะของไม้ป้านลม ลักษณะของเรือนกาแลอยู่ที่ยอดจั่วประดับกาแลเป็นไม้สลักอย่างงดงามหลังคาส่วนปลายยอดที่ ไขว้กันนี้ ชาวเหนือเรียกส่วนที่ไขว้ กันนี้ว่า “แล” จึงเป็นที่มาของชื่อเรือน วัสดุที่ใช้ก่อสร้างคุณภาพดี ฝีมือช่างประณีต แต่มีแบบแผนค่อนข้างตายตัว ส่วนใหญ่เป็นเรือนแฝด มีขนาดตั้งแต่หนึ่งห้องนอนขึ้นไป โดยทั่วไปเรือนประเภทนี้จะมีแผนผัง 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบที่ 1 เอาบันไดขึ้นตรงติดชานนอก โดด ๆ แบบที่ 2 เอาบันไดอิงชิดแนบฝาใต้ชายคาคลุม ทั้งสองแบบนี้จะใช้ร้านน้ำตั้งเป็นหน่วยโดด ๆ มีโครงสร้างของตัวเอง ไม่นิยมตีฝาเพดาน ปัจจุบัน เรือนกาแลดูได้ยาก เพราะมีหลงเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่หลัง

อย่างไรก็ตาม เรือนชนิดนี้เป็นเรือนที่แสดงถึงวิวัฒนาการของกระบวนการก่อสร้างบ้านพักอาศัยของชาวล้านนา ที่ถึงจุดสูงสุดก่อนได้รับอิทธิพลจากต่างถิ่น ตลอดจนเป็นเรือนที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวล้านนาอย่างชัดเจน ทั้งการวางผังพื้นที่ การจัดห้องต่าง ๆ ภายในตัวเรือน ตลอดจนรูปทรง ล้วนสะท้อน ถึงแบบแผนการดำเนินชีวิตตามระเบียบประเพณีของล้านนาทั้งสิ้น






3) เรือนไม้จริง เป็นเรือนพื้นเมืองของล้านนาอีกรูปแบบหนึ่งที่วิวัฒนาการไปจากเรือนกาแล รูปแบบหรือลักษณะทางกายภาพของเรือนประเภทนี้ เกิด จากการผสมผสานทางวัฒนธรรมการปลูกสร้างแบบดั้งเดิมกับวัฒนธรรมที่ชาวล้านนาได้รับจากภายนอก ซึ่งช่างล้านนาได้รับระบบวิธีการปลูกสร้างและ รูปแบบของถิ่นภาคกลางตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ มาผสมผสานกันได้ลงตัว เช่นหลังคาจั่วมุงกระเบื้อง

เรือนไม้บางหลังมีการนำเอาระเบียบวิธีการตกแต่งลายฉลุไม้แบบ ขนมปังขิง (gingerbread) มาตกแต่งประดับจั่วหลังคาและเชิงชายตามแบบอิทธิพลช่าง ไทยภาคกลางที่รับมาจากตะวันตกที่แพร่หลายจากปลายรัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๖ ชาวล้านนาเรียกเรือนประเภทประดับลายฉลุไม้นี้ว่า “เรือนทรง สะละไน” ซึ่งมักเป็นเรือนของพวกคหบดีคนมีเงิน

เรือนล้านนาประเภทนี้ รูปทรงภายนอกของเรือนจะผันแปรไปตามสมัยนิยม โดยเฉพาะลักษณะฝา ระเบียบการเจาะช่องประตูหน้าต่าง การขึ้นทรง หลังคาที่มีระนาบซับซ้อน เป็นการแสดงถึง อัจฉริยภาพของช่างพื้นเมืองที่รู้จักประสานประโยชน์จากความรู้กับเทคนิควิทยาการช่างที่ได้รับ มาจากต่าง ถิ่นได้อย่างกลมกลืน

     ส่วนเรือนล้านนาที่ผสมผสานกัน ระหว่างรูปแบบเก่ากับรูปแบบใหม่ทันสมัยในปัจจุบัน เรียกว่า "เฮือนสมัยก๋าง" (เรือนสมัยกลาง) คืออยู่ระหว่าง " เฮือนบ่าเก่า" กับเรือนแบบสากลยุคใหม่ที่ชาวบ้านเรียกว่า "เฮือนสมัย" (เรือนสมัยใหม่) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "เฮือนบ่ใจ้ฮ่างปึ๊นเมือง" (เรือนไม่ใช่ ทรงพื้นเมือง) เฮือนสมัยมักจะมีแบบอิทธิพลตะวันตกเข้ามาประกอบรูปทรง  มีบทบาทในการเปลี่ยนรูปแบบเรือนพักอาศัยให้ทันสมัยมาก


ที่มา   http://www.buphachat.com/article/Lanna-Ancient-House.htm