1/14/2559

ประเภทเรือนพักอาศัย (ภาคอีสาน)

ประเภทของเรือนพักอาศัย 





เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการ ปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน

* ลักษณะชั่วคราว


สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

* ลักษณะกึ่งถาวร


คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน


* ลักษณะถาวร


เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมี ลมพัดจัดและ
อากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรง จั่วอย่างเรือนไทย
ภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุ ด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของ
อาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือน
ไทยภาคกลาง

เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน

* ม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่านั้น
* ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไปเหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่ากาแล
* ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอหม้อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุ


ที่ชาวไทยภาคอีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอหม้อ



ที่มา   http://www.baanmaha.com/community/thread19790.html

ลักษณะเรือนไทย (ภาคเหนือ)

ลักษณะของเรือนไทย (ภาคเหนือ)



เรือนไทยภาคเหนือ
 
รูปทรงจะมีความโดดเด่นเป็นแบบศิลปะล้านนา          การปลูกเรือนพักอาศัยของคหบดีผู้มีอันจะกินทางภาคเหนือนิยมใช้สัญญลักษณ์    ”กาแล”     ซึ่งเป็นไม้ป้านลมสลักลายอย่างงดงามไขว้กันติดที่ปลายยอดหลังคา      ใต้ถุนของตัวเรือนค่อนข้างต่ำ    เพราะอยู่บนดอยหรือทิวเขา  น้ำท่วมไม่ถึง        หลังคาส่วนใหญ่จะเป็นทรงหน้าจั่วคล้ายเรือนไทยภาคกลางแต่จะถ่างมากกว่า   ที่ยอดของปั้นลมมักติดกาแล     และด้วยสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นกว่า   เรือนภาคเหนือจึงมีหน้าต่างบานเล็กและแคบ           มักจะวางโอ่งน้ำพร้อมกระบวย  หรือ มีเรือนน้ำให้ผู้สัญจรไปมาได้ดื่มกิน  ถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของเรือนล้านนา          ครัวมักสร้างแยกจากเรือนนอน      มีระเบียงหลังบ้านติดกับเรือนครัว        การแบ่งอาณาเขตของบ้านจะใช้วิธีล้อมรั้วด้วยไม้ไผ่ขัดกันเป็นตาโปร่ง    






ที่มา  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192281
       http://www.google.co.th/imgres?hl=th&client=firefox-a&sa=X&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=zOjz65i4xjBgiM:&imgrefurl=http://www.photohobby.net/webboard/detail.php%3Ftopicid%3D19721&docid=M2aCR53u7FTBmM&imgurl=http://www.photohobby.net/webboard/post_photo/19721a33.jpg&w=1041&h=702&ei=Ap9-T8qUCofTrQeay_31BQ&zoom=1&iact=rc&dur=430&sig=114599146713435068892&page=6&tbnh=128&tbnw=184&start=55&ndsp=12&ved=1t:429,r:3,s:55,i:259&tx=75&ty=77

องค์ประกอบเรือนไทย(ภาคอีสาน)

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน

เอกลักษณ์บ้านเรือนไทยของคนอีสาน


1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า "เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

    1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
    1.2 ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
    1.3 ห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่า ห้องส่วม มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้

ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ

2. เกย คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน

3. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก

4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยก ออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน

5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด

6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี "ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของ ชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี "ชานมน" ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ

ที่มา  http://www.learners.in.th/blogs/posts/334405

บ้านพักอาศัย (ภาคใต้)

ลักษณะบ้านพักอาศัยในภาคใต้

ลักษณะบ้านพักอาศัยในภาคใต้

จากการพิจารณาสภาพอาชีพ   และสภาพแวดล้อมทางสังคมแล้ว   จะเห็นได้ว่า   ความต้องการในการใช้พื้นที่ใช้สอยของประชาชนในภาคใต้   และความเป็นอยู่โดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับภาคอื่นๆ   คือ   มีการสร้างที่พักอาศัยแยกเป็นหลังๆ  เมื่อมีการขยายตัวของครอบครัวและแยกครัวออกมาจากเรือนนอน   โดยใช้นอกชานเป็นตัวเชื่อม   แต่ลักษณะนอกชานของภาคใต้มักจะแคบเพราะมีฝนตกชุกทำให้การเดินติดต่อระหว่างเรือนแต่ละหลังสะดวกขึ้น   บางที่ส่วนนอกชานจะก่ออิฐและถมดินขึ้นให้ได้ระดับกับระเบียงและใช้ปลูกต้นไม้ขนาดเล็ก   ส่วนลักษณะของหลังคาเรือนแบ่งได้เป็น   ๔  ลักษณะ   คือ
๑. หลังคาจั่ว
๒. หลังคาปั้นหยา
๓. หลังคาบรานอร์
๔. หลังคามนิลา
หลังคา   ๔   แบบนี้จะมีอยู่ทั่วไป   เพียงแต่สัดส่วนของหลังคาจะมีทรงกรวด หรือทรงเตี้ยก็ขึ้นอยู่กับช่างก่อสร้างในถิ่นนั้นๆ   และขึ้นอยู่กับวัสดุที่มุงหลังคา     ความลาดชันของหลังคาก็ไม่เท่ากัน   โดยเฉพาะส่วนที่เป็นครัวมักจะทำการออกแบบเป็นหลังคาตุกแตน

ลักษณะของเรือนโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น

๑. เรือนเครื่องผูก
๒. เรือนเครื่องสับ
๓. เรือนก่ออิฐฉาบปูน
รูปแบบหลังคาเรือนทางภาคใต้ทั้ง   ๔   แบบ   จะเห็นได้ว่าทำการก่อสร้างเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ   คือ   สามารถกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี   โดยเฉพาะหลังคาปั้นหยาจะมีความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคามากเป็นพิเศษ   เรือนส่วนใหญ่จะวางเสาไว้บนตีนเสา  ( ตอม่อ )   ซึ่งมักจะก่ออิฐและฉาบปูน   ฉะนั้น   เมื่อต้องการจะย้ายบ้าน   ก็จะปลดกระเบื้องลง   ตีแกงแนงยึดโครงสร้างเสาเป็นรูปกากบาด   แล้วใช้คนหามย้ายไปตั้งที่ต้องการ   แล้วนำกระเบื้องขึ้นมุงใหม่ก็สามารถเข้าไปอยู่ได้ทันที



ที่มา  http://www.paktho.ac.th/student/housethai/s_5_4.html
        http://www.google.co.th/imgres?num=10&um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=734&bih=452&tbm=isch&tbnid=AuT3ZeyBVttO2M:&imgrefurl=http://www.folktravel.com/archive/%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B6%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1.html&docid=1sN_j0lnYYqAoM&imgurl=http://www.folktravel.com/wp-content/uploads/2008/12/scp12.jpg&w=400&h=300&ei=onx-T6brLIq8rAfB1dH3BQ&zoom=1&iact=hc&vpx=439&vpy=133&dur=5325&hovh=194&hovw=259&tx=134&ty=110&sig=114599146713435068892&sqi=2&page=1&tbnh=124&tbnw=166&start=0&ndsp=8&ved=1t:429,r:3,s:0,i:69

สถาปัตยกรรมภาคเหนือ

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคเหนือ

  

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง   ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้  พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น  อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ

ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/936-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C.html





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=zMN-L0myFAE&feature=endscreen


 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ดำเนินการภายใต้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน )ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ  ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 10 กิโลเมตร

ส่วนแสดงสัตว์ในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประกอบด้วย

-Jaguar Trail นักท่องเที่ยวสามารถเดินพักผ่อนได้ตามอัธยาศัยรอบทะเลสาบ (Swan Lake) ระยะทาง 1.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นจากอาคารลานนาวิลเลจด้านร้านอาหาร และสิ้นสุดที่ทางออกใกล้เรือนวารีกุญชร ตลอดระยะทางจะพบกับสัตว์ป่ามากกว่า 400 ตัว หรือ 50 ชนิด อาทิเช่น เสือขาว เสือจากัวร์ หนูยักษ์คาปิลาลา เสือลายเมฆ สมเสร็จบราซิล ม้าแคระ ฮิปโปแคระ ลิงอุรังอุตัง เสือดำ ลิงกระรอก หมีโคอาล่า แมวดาว นกกระเรียนหงอนพู่ นากใหญ่ขนเรียบ ลามา นกคลาสโซโนวี่ เสือปลา ฯลฯ
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ ประมาณ 200 ตัว นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ

-Savanna Safari ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบและสัตว์กินพืชที่มีถิ่นอาศัยในแถบทุ่งหญ้าซาวันนา ประมาณ 320 ตัว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.43 กม. อาทิเช่น เลียงผา กวางผา กระทิง แรดขาว ไฮยีน่า เสือชีต้า วีลด์เดอบีส ยีราฟ จามรี ละอง ละมั่ง กวางกาเซลล์ หมูป่า กวางบาราสิงกา ฯลฯ โดยระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะพบกับสถาปัตยกรรมจำลองเวียงกุมกาม ซึ่งสะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่

-และในพื้นที่บริการจะเป็นหมู่บ้านล้านนา ซึ่งเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบแอฟริกาและไทยล้านนา ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ศูนย์รวมสินค้า OTOP ของที่ระลึก และเป็นถานีรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังส่วนแสดงสัตว์ และด้านข้างอาคารยังมีลานน้ำพุดนตรี (Fun Plaza) สำหรับเด็กๆ ได้เล่นน้ำขณะรอขึ้นรถ


ที่มา   http://www.unseentravel.com/locate/933-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5.html


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จากตัวเมืองเชียงใหม่มุ่งหน้าไปตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด 58 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญคู่เมืองจอมทองและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ 10 เมตร เรียกว่า ดอยศรีจอมทอง หรือดอยจอมทอง ประเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/929-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html

 


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=mQFgo_1-m4c




 ที่มา http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&NR=1&v=0PyjVkahXYk



ที่มา http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&NR=1&v=jQaOk8PoHYE


 วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร


เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัย

ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.

งานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก

ความเชื่อและวิธีการบูชา  เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญาดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/926-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html

วัดร่องขุ่น จ.เชียงราย

วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นต่างจากวัดอื่นๆ ด้วยฝีมือการออกแบบ และก่อสร้างของ อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินชื่อดัง เพื่อเป็นวัดประจำบ้านเกิด สร้างโดยจินตนาการของอาจารย์ จัดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ และงดงามน่าแวะชมมากแห่งหนึ่ง
อ. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างวัดแห่งนี้อยู่ 3 ประการ คือ เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจารย์บอกว่า  จึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิต ใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์ เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ได้ และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด" (จากเอกสารของวัดร่องขุ่น) ความงดงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ "โบสถ์" เพราะอาจารย์อยากจะเนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้า สีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์ และจักรวาล    สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้นไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรกลืนกัน 16 ตน ข้างละ 8 ตน หมายถึง อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพานหมายถึง เขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำหมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่ควรกราบไหว้บูชา
        ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลมหมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้นแทน อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผ่านแล้วจึ้งขึ้นไปสู่อรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอกและบานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง ซึ่งหมายถึงความหลุดพ้น แล้วจึงก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิ  ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดานและพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตตรธรรม ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักการของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่างคือความหลุดพ้นนั่นเอง
นี่เป็นเพียงรายละเอียดคร่าวๆ ของโบสถ์ของวัดร่องขุ่น ส่วนรายละเอียดจริงๆ นั้น อาจารย์บอกว่าจะสร้างทั้งหมด 9 หลัง แต่ละหลังมีความหมายเป็นคติธรรมทุกหลัง ผมหวังจะสร้างงานพุทธศิลป์ของแผ่นดินให้ยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อให้คนทั้งโลกยอมรับ และปรารถนาจะมาชื่นชมให้ได้ จะถวายชีวิตสร้างจนลมหายใจสุดท้าย และได้สร้างลูกศิษย์รอรับช่วงต่ออีก 2 รุ่น หลังผมตาย คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 9 หลัง คงใช้เวลาทั้งหมด 60-70 ปีครับ"
        นอกจากจะชมความงดงามของพระอุโบสถแล้ว ยังสามารถเข้าชมผลงานของอาจารย์ และเลือกซื้อของที่ระลึกจากวัดร่องขุ่นได้อีกด้วย

ที่มา http://thai-tour.com/thai-tour/North/chiangrai/data/place/pic_wat-rongkhun.htm




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=i0X9VsNye04



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=AP9h6d1HwrU&feature=related

สถาปัตยกรรมภาคอีสาน

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคอีสาน 

 พระธาตุพนม



    พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นเจดีย์สำคัญของภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ชาวไทยในภาคอีสาน ตลอดจนบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตอนใกล้เคียง เรียก "พระเจดีย์" ว่า "พระธาตุ" เช่น พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย และพระธาตุเรณู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนม พระธาตุเหล่านี้ สร้างเป็นพระเจดีย์รูปสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ฐานขึ้นไป และพระธาตุพนม มีอายุเก่าแก่และงดงามกว่าพระธาตุองค์อื่น ๆ

     พระธาตุพนม ประดิษฐานในวัดพระธาตุพนม ซึ่งมีทำเลเป็นโคกสูงกว่าบริเวณเดียวกัน เรียกว่า "ภูกำพร้า" บางแห่งเรียกว่า "ภูก่ำพร้า"  ในเขตอำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม หน้าวัดมีซุ้มประตูใหญ่ 1 แห่ง และประตูเล็ก 2 แห่ง บนประตูมีรูปโทณพราหมณ์ กำลังตวงพระบรมธาตุด้วยทะนานทอง  เมื่อเข้าไปภายในวัดจะถึงพระอุโบสถ และวิหารคต จึงถึงองค์พระธาตุพนมจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย

      พระธาตุพนมองค์นี้ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง  แต่ในตำนานแห่งพระธาตุพนม กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคละ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร  พระยาจุลนีพรหมทัต  พระยานันทเสน ช่วยกันสร้างขึ้น ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปเถระ เมื่อ พ.ศ. 8 และในตำนานเล่มเดียวกันนี้ได้เล่าถึงวิธีการสร้างไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมได้ก่อขึ้นด้วยแผ่นอิฐดินดิบ  และอนุญาตให้ชาวบ้านนำข้าวของเงินทอง มาบรรจุไว้ภายใน แล้วสุมไฟเผาทั้ง 4 ด้าน เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พออิฐสุกและเย็นลงดีแล้ว ก็ได้นำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้ามาบรรจุไว้ภายใน

 ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีหลายท่าน ลงความเห็นใกล้เคียงกันว่า พระธาตุพนมได้สร้าง เมื่อประมาณ 1,200 ปีมาแล้ว และสร้างด้วยอิฐเผา ไม่อิฐดิบสลัีกเป็นลวดลายวิจิตรพิสดาร การก่อสร้างประณีตสวยงาม ได้รับการบูรณะ จากกษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ และทางบ้านเมืองของไทยเสมอมา ชาวท้องถิ่นเคารพบูชาพระธาตุแห่งนี้ ทุกคนช่วยกันรักษาดูแลอย่างดีที่สุด องค์พระธาตุพนมสูง 52 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 11.25 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 กิโลกรัม

      11  สิงหาคม  พ.ศ.  2518  องค์พระธาตุพนม ซึ่งได้สร้างมานานถึง 1,200 ปี ก็ล้มลงท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก สร้างความเศร้าสลดใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ รัฐบาลจึงได้รีบเร่งจัดตั้งคณะกรรมการ บูรณะพระธาตุพนมให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว  ระหว่างการบูรณะ ได้มีการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ที่เชื่อกันว่าเป็นพระอุรังคธาตุ บรรจุอยู่ภายในองค์พระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุด้วย  เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมสำเร็จเรียบร้อย สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จไปทรงยกยอดฉัตรทองคำ เมื่อวันที่ 22 ่มีนาคม พ.ศ. 2522 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ไปทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ   ณ องค์พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้นได้มีการสมโภชน์พระธาตุพนมอย่างมโหฬาร

     งานไหว้พระธาตุพนม ระหว่างวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 3 รวม 7 วัน 7 คืน มีพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวลาว เดินทางไปร่วมงานบุญนี้อย่างเนืองแน่น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงถวายดอกไม้เงินทองมาเป็นพุทธบูชาทุกรัชกาล


ที่มา http://allknowledges.tripod.com/thatphanom.html

  วีดีโอ:

          พระธาตุพนม 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=l1k2qlsOTCg&feature=related

 

 

 

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 

 


ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโคราช เป็นระยะทาง 60 กม. ตามเส้นทางสายมิตรภาพ (โคราช-ขอนแก่น) อุทยานประวัติศาสตร์พิมายครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่ใหญ่โตและงดงามแห่งหนึ่ง คือ “ปราสาทหินพิมาย” เป็นแหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 และมาต่อเติมอีกครั้งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองใหญ่ของขอมบนแผ่นดินที่ราบสูง

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรขอม แผนผังของปราสาทแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ลานชั้นใน ซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคดหรือกำแพงชั้นใน มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลาน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง กว้าง 18 เมตร ความยาวรวมทั้งมุขหน้า 32.50 เมตร หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามายณะ (รามาวตาร) และกฤษณาวตาร หน้าบันด้านหน้าสลลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนทับหลังของประตูห้องชั้นในขององค์ปรางค์สลลักเป็นภาพทางคติพุทธศาสนานิกายมหายาน ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายและขวามีปรางค์องค์เล็กอีกสองหลัง องค์ทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 เมตร สูง 11.40 เมตร ปรางค์ทางด้านขวาสร้างด้วยหินทรายสีแดง เรียกว่า ปรางค์หินแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร

ถัดจากระเบียงคดออกมาเป็นลานชั้นนอก ล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัยสองหลัง ตั้งคู่กันอยู่ทางด้านทิศตะวันตก มีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม ทางเข้าด้านหน้ากำแพงชั้นนอกมีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์

ถัดจากกำแพงชั้นนอกออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันมีให้เห็นชัดเจนทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท

ที่มา  http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/nakornratchsima/data/place/hpk_pimai.htm



  วีดีโอ:

 ปราสาทหินพิมาย 

    


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_xmcJ_Lx2mo&feature=related 






อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์

 อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ชมศาสนบรรพตที่สวยงาม ตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟใน จ.บุรีรัมย์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18



จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง



สำหรับการเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งได้หลายทางด้วยกัน ที่นิยมกัน คือ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง หมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอ หนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กม. หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอจักราช-ห้วยแถลง-ลำปลาย มาศ รวมระยะทาง 384 กม.


ที่มา  http://www.thaisabuy.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87/

  วีดีโอ:

ปราสาทหินพนมรุ้ง 

 

ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=9KzItdeim8M

สถาปัตยกรรมภาคใต้

ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมภาคใต้


ยะลา - พระธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ 
แหล่งท่องเที่ยว:

 




พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ที่วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ในตัวเมืองเบตง โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขา มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร หรือขนาดความสูงเทียบเท่าตึก 13 ชั้น เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ โดยในองค์มหาธาตุเจีดย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มหาธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากความคิดและการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเฉลิมฉลองและถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา




 ที่มา  http://travel.sanook.com/south/yarah/yarah_03878.php

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย



ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/169-%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข




พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ.1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/167-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82.html


ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว



ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ตั้งอยู่เลขที่ 63 ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่าง ๆ ภายในตัวเมืองปัตตานีทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก


ที่มา   http://www.unseentravel.com/locate/160-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html


วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม


วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางหลวงสาย 42 (ปัตตานี-โคกโพธิ์) ผ่านสามแยกนาเกตุ ตรงไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) ผ่านชุมชนเทศบาลนาประดู่และศูนย์ฝึกอาชีพ (วัดช้างให้) ไปจนถึงทางแยกเพื่อเข้าสู่วัดช้างให้อีกประมาณ 700 เมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ยังมีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เป็นผู้มีความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและด้านเวทมนตร์คาถาต่างๆ เล่ากันว่าท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คน เช่นครั้งที่ท่านเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางเกิดพายุ จนกระทั่งข้าวปลาและอาหารตลอดจนน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือรู้สึกกระหายน้ำมาก หลวงปู่ทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำในบริเวณนั้นได้กลายเป็นน้ำจืด และดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านก็ขจรขจายไปทั่ว และต่อมาหลวงปู่ทวดได้มรณภาพที่ประเทศมาเลเซีย แล้วได้นำพระศพกลับมาที่วัดช้างให้ งานประจำปีในการสรงน้ำอัฐิหลวงปู่ทวดวัดช้างให้คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 วัดช้างให้เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.


ที่มา http://www.unseentravel.com/locate/159-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ


ที่มา  http://www.unseentravel.com/locate/158-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5.html